คดีการฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงของหนองญาติ

หนองญาติเป็น "หนองน้ำสาธารณะ " เพราะประชาชนคนไทยทั่วประเทศสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ทุกคน เป็นต้นว่า การเล่นน้ำ อาบน้ำ ว่ายน้ำ พายเรือ แข่งเรือ หาปลา พาวัวควายมากินมาเล่นน้ำ
ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า ที่ราษฎร์ หรือ ที่สาธารณะ
ภาษากฎหมาย เรียกว่า สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
มีกฎหมายให้การคุ้มครอง ห้ามการโอนแก่กัน ยกเว้นมีการถอนสภาพ โดยการออกกฎหมายในสภาฯเท่านั้น
คดีที่สาธารณะ ไม่มีอายุความ หมายความว่า ถึงจะครอบครองมานานแค่ไหน ก็เพิกถอนได้
กรมที่ดิน มีทะเบียนที่ระบุว่า หนองญาติ เป็นหนองน้ำสาธารณะประโยชน์ นี่เป็นหลักฐานข้อเท็จจริง

แต่จังหวัดนครพนมกลับไปขึ้นทะเบียน หนองญาติ เปลี่ยนจากอย่างหนึ่งไปเป็นอย่างหนึ่ง ในปีพ.ศ 2536
โดยเปลี่ยนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ที่ศาลากลางจังหวัด
และธนารักษ์พื้นที่นครพนม ได้นำหนองน้ำ"หนองญาติ" แห่งนี้ไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ ในปี พ.ศ 2546
ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า ที่หลวง
ภาษากฎหมาย เรียกว่า ที่ราชพัสดุ
นี่คงเป็น ที่ราชพัสดุ ที่แปลกมหัศจรรย์ที่สุดในประเทศไทย ที่เป็นเพียงหนองน้ำสาธารณะธรรมดาๆๆ
เพราะมีกฎหมายห้าม เอาที่สาธารณะ มาเป็น ที่ราชพัสดุ ตามพรบ.ที่ราชพัสดุ มาตรา 4
แต่ที่น่าพิศวง งงงวยที่สุดก็คือ เป็น " ที่ราชพัสดุ " แปลงที่มีการดำเนินงานนานที่สุด ตั้งแต่ พ.ศ 2516 - 2546 สิริรวม 30 ปึเต็ม เฮ้อ !

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ก่อนถึงวันนักข่าว คำถามที่อธิบดีกรมชลประทาน ต้องมีคำตอบ

                                                                                                        
            การใช้เงินโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลนายอภิสิทธิ ฯ  ช่างเป็นข่าวที่สื่อนักข่าวชื่นชอบและนักการเมืองฝ่ายค้านกระหายให้ความสนใจมาก  ดังนั้น ข่าวการใช้เงินไทยเข้มแข็ง ถึง 30 ล้านบาทมาขุดลอกหนองญาติ เพื่อป้องกันบรรเทาอุทกภัยให้หนองญาตินั้น  เมื่อไหร่ที่คนนครพนมได้ยินได้ฟัง  ก็ต้องขำกับคำขี้จุ๊ ต้องเอามือกดท้องกันตับไตใส้หลุด หัวร่อกันท้องคัดท้องแข็ง " ( พวกมรึง ) หาเรื่องแหลก อีกแล้ว "
 
        ดังนั้นก่อนที่เรื่อง การป้องกันบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่การเกษตรและพื้นที่เศรษฐกิจ สามารถบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและราษฎรในพื้นที่เสี่ยงภัยให้อยู่ดีกินดี และลดการสูญเสียจากการเกิดอุทกภัย  โดยการปรับปรุงเขื่อน และพัฒนาแก้มลิงตลอดจนการพัฒนาระบบระบายน้ำ ที่หนองญาติ ตามที่อธิบดี กรมชลประทานบรรยายซะสวยหรู ( ว่าแต่ว่า ชาวหนองญาติ ชาวนครพนมที่กินข้าว ไม่ได้กินหญ้านี่ เขาจะเชื่อมั๊ยหละ ) จะโด่งดังแซงหน้าข่าวติ้วเสี่ยงระเบิด จีที 200 เอ๊ย ข่าวทุจริตอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์แพงที่กระทรวงสาธารณสุข  เราลองมาซ้อมตั้งคำถาม (ก่อนการไล่ล่าหาความจริงจากนักข่าวและสื่อ) กับเจ้าของโครงการใครเข้มแข็ง เอ็ย ไทยเข้มแข็งนี้คือ นายชวลิต เอ๊ย นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กันดีมั๊ย
1.   ในเมื่อกรมชลประทาน ได้โอน" อ่างเก็บน้ำหนองญาติ " ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือ อบต.หนองญาติ ไปดูแลแทนแล้วตั้งแต่ปี 2540  โดยนิตินัย พูดถึงเรื่องอำนาจหน้าที่ ภารกิจและความสัมพันธ์ กับหนองญาติ ในทุกวันนี้ นั้นเป็นอย่างใด ? โอนแล้วโอนเลย รึว่า ถึงจะโอนให้แล้ว โอกาสหน้า ( ถ้ามีงานเข้า) พี่ ก็จะมาหาใหม่ ?

2.   การหวนกลับมาขุดลอกหนองญาติเป็นคำรบสองนี่  ถ้าครั้งนี้เป็นการขุดลอกเพื่อพัฒนาหนองน้ำไม่ให้ตื้นเขิน เพื่อการเกษตรกรรมตามที่อ้างซะเคลิ้มหรือเพื่อการบำรุงระบบนิเวศน์ของสัตว์น้ำ นี่ไม่ใช่เรื่องแปลก   แต่มันแปลกก็ตรงที่ว่า คราวก่อน กะคราวนี้ ช่างเหมือนกันเปี๊ยบเลย คือ การขุดลอกหนองแล้วเอาดินมาถมหนอง นี่สิ  มันเป็นภารกิจประเภทใด ชนิดใดของกรมชลประทาน ในฐานะผู้ใช้งานหนองญาติ และอีกคำถาม คือ งานนี้มี ใครร้องขอ รึ ใครขอมา ให้มาแก้ปัญหาน้ำท่วมบ้านหนองญาตินี่  เพราะชาวบ้านชาวเมืองนี้ เขาก็ไม่เห็น จะมีใครรู้เรื่อง รึว่า มีใครเดือดร้อนตามที่กรมฯ (นั่งทางใน)อ้างเลย
                นี่คือ หนองน้ำที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน อย่างแท้จริง
เมื่อเทียบกับนี่  เขาทำอะไรกัน เพื่อใคร ?
  3.  โครงการนี้มีที่มาอย่างไร เช่น เหตุผลข้ออ้างในการคิดโครงการ มีเป้าประสงค์ทำเพื่ออะไร และความคุ้มค่าของเงินงบประมาณที่สูงถึง 30 ล้านกับงานที่ใช้เครื่องจักรมาขุดดิน แล้วตักดินใส่รถไปถมที่บนหนองน้ำ เช่นนี้

   4.  ด้วยคำว่า หนองญาติ หนองน้ำสาธารณะประโยชน์สำหรับราษฎรใช้ร่วมกัน หรือ อ่างเก็บน้ำหนองญาติ หรือว่า หนองญาติ หนองน้ำแห่งราชพัสดุ รึว่า หนองราชพัสดุ รึ หนองธนารักษ์ หรือ จะชื่อใดก็ตามแต่นี้  ถ้ามีเงินงบประมาณสูงถึง 30 ล้านบาทมาใช้กับหนองน้ำธรรมชาติที่รกรื้นตื้นเขิน  ควรจะเป็นโครงการของทางราชการในลักษณะใดที่จะก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนสูงสุด เช่น การปรับปรุงระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติดั้งเดิมของหนองน้ำ  การเกษตรกรรม การนันทนาการ ศูนย์ราชการ หรือ การก่อสร้างอื่นๆตามความต้องการของทางราชการ ฯลฯ
  5.  คดีการบุกรุกหนองญาติของหน่วยราชการต่างๆ ได้มีการร้องเรียนไปยังหน่วยราชการอิสระตั้งแต่ปี 2548 เช่น ผู้ตรวจการแผ่นดิน , กรรมการสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติ , คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฯลฯ ก่อนมีการส่งเรื่องราวที่ว่า " หนองญาติ เป็นที่สาธารณะ มิใช่เป็นที่ราชพัสดุ เพื่อให้มีการเพิกถอนหนังสือสำคัญฯของหนองญาติ เสียไปที่ศาลปกครองสูงสุด ( ซึ่งได้โอนเรื่องให้ศาลปกครอง ขอนแก่น และต่อมาได้ให้การคุ้มครอง ห้ามการเข้ามาใช้พื้นที่หนองญาติ )  ซึ่งต่อมาหน่วยงานดังกล่าวได้มีหนังสือตอบกลับมายังผู้ร้องเรียน ใจความว่า " เนื่องจาก การร้องเรียนนี้ได้อยู่ในการพิจารณาของศาลปกครองฯ แล้ว  ทางเราจึงขอส่งคำร้องคืนและยุติการดำเนินการสอบสวนทั้งหมด ฯลฯ "  นี่คือ การรับรู้ถึงอำนาจของศาล  กระทั่งทางจังหวัดนครพนมหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง ก็ยังกริ่งเกรงในการนำเงินงบประมาณมาใช้ที่หนองญาตินี่   แล้วกรมชลประทาน ซึ่งก็เป็นเพียงหน่วยราชการธรรมดาหน่วยงานหนึ่งในกระทรวงๆหนึ่งที่ไม่ได้มีอำนาจมากมาย  ก็น่าจะทราบข่าว  ศาลปกครองมีคำสั่งระงับโครงการต่างๆมูลค่านับพันนับหมื่นล้านที่มาบตาพุด ซึ่งเป็นข่าวใหญ่ระดับชาติ  แล้วในเรื่องนี้ทางกรมฯจะไม่เข้าใจคำว่า การไม่เคารพศาล รึ การละเมิดศาล กระนั้น หรือ
        ขอให้ เอ็นจอย มื้อเย็นนี้ นะครับ บรรดาสื่อและนักข่าวทั้งหลาย   
        สวัสดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น