คดีการฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงของหนองญาติ

หนองญาติเป็น "หนองน้ำสาธารณะ " เพราะประชาชนคนไทยทั่วประเทศสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ทุกคน เป็นต้นว่า การเล่นน้ำ อาบน้ำ ว่ายน้ำ พายเรือ แข่งเรือ หาปลา พาวัวควายมากินมาเล่นน้ำ
ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า ที่ราษฎร์ หรือ ที่สาธารณะ
ภาษากฎหมาย เรียกว่า สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
มีกฎหมายให้การคุ้มครอง ห้ามการโอนแก่กัน ยกเว้นมีการถอนสภาพ โดยการออกกฎหมายในสภาฯเท่านั้น
คดีที่สาธารณะ ไม่มีอายุความ หมายความว่า ถึงจะครอบครองมานานแค่ไหน ก็เพิกถอนได้
กรมที่ดิน มีทะเบียนที่ระบุว่า หนองญาติ เป็นหนองน้ำสาธารณะประโยชน์ นี่เป็นหลักฐานข้อเท็จจริง

แต่จังหวัดนครพนมกลับไปขึ้นทะเบียน หนองญาติ เปลี่ยนจากอย่างหนึ่งไปเป็นอย่างหนึ่ง ในปีพ.ศ 2536
โดยเปลี่ยนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ที่ศาลากลางจังหวัด
และธนารักษ์พื้นที่นครพนม ได้นำหนองน้ำ"หนองญาติ" แห่งนี้ไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ ในปี พ.ศ 2546
ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า ที่หลวง
ภาษากฎหมาย เรียกว่า ที่ราชพัสดุ
นี่คงเป็น ที่ราชพัสดุ ที่แปลกมหัศจรรย์ที่สุดในประเทศไทย ที่เป็นเพียงหนองน้ำสาธารณะธรรมดาๆๆ
เพราะมีกฎหมายห้าม เอาที่สาธารณะ มาเป็น ที่ราชพัสดุ ตามพรบ.ที่ราชพัสดุ มาตรา 4
แต่ที่น่าพิศวง งงงวยที่สุดก็คือ เป็น " ที่ราชพัสดุ " แปลงที่มีการดำเนินงานนานที่สุด ตั้งแต่ พ.ศ 2516 - 2546 สิริรวม 30 ปึเต็ม เฮ้อ !

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

" นิรมิตรหนองญาติ - นิราศหนองเซา " มหาอุปรากรแห่งทศวรรษ องค์ที่ 5


องค์ที่ 5 " นาย - เภอ นักฝันลั้ลลา  เมื่อ มิยาซาว่า  กำลังจะพา ซรวย     "

 oooooooooooooooooooooo

ลั้นลา  แปลว่า  อารมณ์ดี  มีความสุข ประมาณว่า ดีใจ จนกระโดดตัวลอย
ซรวย -  ออกเสียงตาม ราชบัณฑิต "  ซะ - รวย  "
ซรวย -  ออกเสียงตาม  ราษฏร์นิยม  "  ซวย  "


 หนองญาติ  เป็นหนองน้ำที่เกิดตามธรรมชาติมาเมื่อหลายร้อยปีก่อน  จึงเข้าลักษณะ
เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน  ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1304
" ที่ชายตลิ่ง  ทางน้ำ  ทางหลวง  ทะเลสาบ  "  จะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยกฏหมายเฉพาะ
ประมวลกฏหมายที่ดิน  กำหนดให้ " อธิบดีกรมที่ดิน " สังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ดูแล
ตามมาตรา 8  และมี กรมการอำเภอ มีหน้าที่ปกปักรักษา ตาม พรบ.ลักษณะปกครองท้องที่
โดยมีนายอำเภอท้องที่ เป็นผู้ดูแลให้การคุ้มครองป้องกันและการออกหนังสือสำคัญ ( นสล.)


ดังนั้นหาก  นายอำเภอ คนใด แยกแยะไม่ออก ระหว่าง " ที่ดิน " กับ " หนองน้ำ " 
ก็ต้องให้ต้นสังกัด คือ มหาดไทย ตั้งคณะกรรมการมาสอบสวนว่า
" แกล้งไม่รู้ไม่เข้าใจ  หรือ โง่เขลาเบาปัญญา หรือ ฟั่นเฟือน  "

นายอำเภอท้องที่  นอกจากมีหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว
ยังเป็นผู้ตรวจสอบการออกโฉนดที่ดิน และเป็นพยานชี้แนวเขตที่ดินด้วย
แต่ ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมาแล้วก็คือ  มีอดีตนายอำเภอหลายคน ที่ไม่ใช่คนในท้องที่
ครอบครองที่ดินแปลงสวยๆ แปลงใหญ่ๆ ในพื้นที่ ที่ไม่น่าจะมีสิทธิ์ทำได้
ลองมีคนขุดคุ้ยขึ้นมาอีกที สิ  รับรองจะมีคนติดคุกนับสิบ เป็นแน่


ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดิน
อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
 เป็น  ภารกิจที่สำคัญอันหนึ่ง หรือ ที่สุด ของบรรดานักปกครอง " นายอำเภอ " ต้องใส่ใจ
ว่า  บรรดา ห้วย หนอง คลอง บึง นี่ มันเป็น " ที่สาธารณะ " ที่ต้องป้องกันไม่ให้ใครบุกรุก
แต่ในกรณี " หนองญาติ "  กลับกลายเป็นว่า " ผู้ดูแล " กลับเป็น " ผู้บุกรุก " เสียเอง
จะว่า คนคิดทำ มัน โง่เง่า บ้าระห่ำ  บ้าอำนาจ เหิมเกริม หรือ ประพฤติชั่ว  ก็ถูก ทุกข้อ

ooooooooooooooooooooo

"  เปิดเวที  "


" ปฐมบท " ของ การบุกรุกเข้าครอบครอง " หนองญาติ " โดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย

 ที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนม ที่ถนนอภิบาลบัญชา เทศบาลเมืองนครพนม
ในอดีต ปี 2542  ก่อนจะถูกย้ายไปหนองญาติ



โดย มีตัวเอกของเรื่อง  เป็นนายอำเภอเมืองฯ ขณะนั้น ชื่อ  ชวลิต  วิชยสุทธิ์ 
ตั้งเรื่องว่า  " อำเภอเมืองเดิม ก่อสร้างมานาน 30 ปี มีสภาพเก่าทรุดโทรมและคับแคบ  "
( เสียดายที่หนังสือชี้แจงฉบับนั้นยังหาไม่เจอ ) 

จึงมีหนังสือ ( ด่วนที่สุด ) เมื่อวันที่ 29 มึค. 2542 ไปเรียน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม
ถึงเรื่อง  " การย้ายที่ว่าอำเภอเมืองนครพนม  " 
อ้างว่า  ได้รับ " การประสานเป็นการภายใน "  ( งานสำคัญใหญ่บะฮึ่มขนาดนี้ ก็ยังมีเป็นการภายใน ) จาก ผอ.ส่วนระบบการปกครอง สำนักบริหารการปกครองท้องที่  กรมการปกครอง " ว่า สมควรได้รับงบประมาณในการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอเมืองหลังใหม่  " นี่มันงุบงิบมั๊ย "
 




 หนังสือเลขที่ นพ. 0118 / 1535 ลงวันที่ 29 มีนาคม  2542



บันทึกรายงานการประชุม หัวหน้าส่วนราชการอำเภอเมืองนครพนม
เมื่อ วันที่ 29 มีนาคม 2542  เวลาประชุม  09.00 น
ณ  ห้องประชุมอำเภอเมืองนครพนม




 บันทึกรายงานการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองญาติ
ครั้งที่  พิเศษ / 2542 วันที่ 29 มีนาคม 2542  เวลาประชุม 17.00 น ( วันเดียวกัน )
ประชุม ณ ห้องประชุม สภาฯ อบต.หนองญาติ

ลองคิดดูว่า อำเภอเมือง  ที่มีหน้าที่สำคัญที่ต้องให้การบริการความสะดวกแก่ประชาชน
มีการประชุมเพื่อขอมติเห็นชอบ การย้ายออกไปอยู่นอกเขตเทศบาล สำเร็จภายใน " หนึ่งวัน " 
 " เช้า ประชุมที่อำเภอเมืองนครพนม  บ่าย ประชุมที่ อบต.หนองญาติ  "
ถือ เป็นการทำงาน " งานใหญ่ " ของหน่วยราชการ ที่ด่วนที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย

( ส่วนหนังสือการประชุมหัวหน้าส่วนราชการจังหวัด วันที่ 30 มีค. 2542 หาไม่เจอ )


หนังสือ " บันทึกข้อความ  "  ประทับตรา ด่วนมาก ลงวันที่ 31 มีนาคม 2542
ถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม  เรื่อง  การย้ายที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนม 
ว่าได้รับความเห็นชอบจาก หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดและ อบต.หนองญาติแล้ว



 ทางจังหวัดนครพนม มีหนังสือไปยัง ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม
เพื่อขอ มติสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม  ให้ความเห็นชอบการย้ายที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนม อีกทางหนึ่ง  ลงวันที่ 2 เมษายน  2542
ทั้งที่  นายอำเภอเมืองฯ คนนั้น ได้มีหนังสือ ลงวันที่ 31 มีนาคม 2542 มาถึง
เจ้าหน้าที่อำเภอ ฯ  ให้เตรียมตัวไปชี้บริเวณที่จะก่อสร้างฯ กับผู้รับเหมา ในวันที่ 23 เมษายน 
( เสียดายที่หาหนังสือฉบับนี้ไม่เจอ )

แสดงว่า " แผนการที่จะย้ายและจะสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่นั้น  เตรียมมานานแล้ว " 
ซึ่งก็น่าจะรวมถึงแผน หลอมลวง สถาบันต่างๆที่มี เพื่อจัดตั้ง " มหาวิทยาลัยนครพนม " ด้วย 


ขยัน  จริง จิง พ่อคุณ เอ๊ย

ภาพอดีต " ที่ว่าการอำเภอเมืองฯ " ในความทรงจำ




อดีต ที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนม  ปัจจุบัน " สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม "
ที่ใช้เงินภาษีประชาชน  มาย้อม " ความเก่าทรุดโทรม "  ด้วยเงินถึง 11 ล้าน
ผลงานของคนๆเดียวกัน ที่ชื่อ " ชวลิต  วิชยสุทธิ์ "
ที่รวมหัวกันกับ สส.นครพนม คนอื่น หักดิบ มติ ครม.รัฐบาลทักษิน  
ออก พรบ.มหาวิทยาลัยนครพนม " แบบ ขออย่างหนึ่ง  แล้วออกกฏหมายอย่างหนึ่ง "
ซึ่งเรื่องของ " มหาวิทยาลัยนครพนม " นี้ แม้จะมีพรบ. และ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
เรื่องก็คงยังไม่จบ  เพราะพฤติกรรม " ลิงหลอกเจ้า " กับ มติ ครม. นี้ 
จะเสนอให้ " รัฐบาลใหม่ " รื้อมาแก้ไขให้ตรงกับการเสนอของคณะกรรมการกลั่นกรองฯอีกที


 พื้นที่หนองญาติ อยู่นอกเขตเทศบาล และห่างจากศาลากลางจังหวัดนครพนม ถึง 7 กิโลเมตร



เสาไฟที่เห็นอยู่ข้างหน้า  คือ โครงการบ้านพักข้าราชการ ข้างอำเภอเมืองฯ ที่ต้องพับไป

ที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนม หลังใหม่นี้  ชวลิต  วิชยสุทธิ์ บอกกลางห้องประชุมฯ ว่า  
 " สร้างด้วยเงินมิยาซาว่า  ที่ได้มาเร็ว  ก็ต้องรีบเอามาใช้อย่างเร่งด่วน " 
( ส่วน จะผิดจะถูก ค่อยว่ากันทีหลัง - เราช่วยต่อให้ )

พูดถึง อนาคตงานปกครองท้องที่ ของมหาดไทยนี้   เมื่อการกระจายอำนาจให้หน่วยราชการท้องถิ่น  มีความก้าวหน้ามากขึ้น แข็งแรงยิ่งขึ้น  และประชาชนมีความใว้วางใจ
บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานปกครอง " อำเภอ " นี้  ก็จะต้องถูกลดลงอย่างแน่นอน
ต่อไป การดูแลประชาชนในท้องถิ่น  ก็จะเป็นงานของ  อบจ.  เทศบาล และ อบต. ทั้งหมด
ก็ไม่มีความจำเป็นอะไร  ที่ต้องมาขยายหน่วยงาน  ที่ยังไม่รู้ แม้อนาคตของตัวเอง



ที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนม  ผลงานอัปยศอมตะนิรันดร์การของอดีตข้าราชการไทย
ที่ชื่อ " ชวลิต  วิชยสุทธิ์ " อดีต นายอำเภอ  ปัจจุบัน  ก็เป็น อดีต สส.นครพนม
นักปกครองระดับสูง ( ได้ไงวะ )  ที่สายตาแยกแยะ " หนองน้ำ " กับ " ที่ดิน "  ไม่ออก 

 ว่าแต่ว่า เขาคนนี้ เป็นใครมาจากไหน โด่งดังยังไง  แล้วดอดมาเป็น สส.แต่เมื่อไหร่  ล่ะ
ก็ต้องไปถามชาวบ้านชาวเมืองเขาดูว่า รู้จัก สส.คนนี้ใหม เป็นคนบ้านไหน แล้วมีดียังไง 
ก็แปลก ที่ไม่เห็นจะมีใคร ตอบได้ ฉาดฉาน เต็มปากเต็มคำซักคน
เออ  ไม่รู้จักหัวนอนปลายเท้าแล้ว ไปเลือกเป็น  สส. ได้ไง หนอ คนนคร เอ๊ย
แต่มีคนรู้ดีมากระซิบ  " ก็เป็นมันทั้งนายอำเภอ และ เด็กหิ้วกระเป๋าให้ นายพล ไง พอป๊ะ
การดับฝัน ของอดีตข้าราชการ นักปกครองระดับสูง ของกระทรวงมหาดไทย  ผู้นี้
ผู้คิดจะต่อยอดความฝันของตัวเอง  ให้ " หนองญาติ " มีสภาพใกล้เคียง " บึงฉวาก " 

ก็นับเป็นความโชคดี ของชาวนครพนม และ คนทั้งประเทศ ที่จะได้เห็น หนองญาติ คงอยู่ต่อไป
หาไม่แล้ว  ป่านนี้คงมีอาคารราชการนับสิบๆตั้งปิดล้อม " หนองญาติ "  เต็มไปหมด
เพียงแค่ 5 ฉากกับ 1 ตัวละครเอก  ไคลแม๊กซ์ ก็ใกล้ถึง " บ้านสีขาว " ที่หนองเซา เข้าไปทุกที
ส่วน ตัวเอกของเรื่อง  ถ้าคิด  จะหาสถานที่สำหรับ " การหัวเราะให้ฟันร่วงหมดปาก "
ก็เชิญเลือกล่วงหน้าได้เลยนะว่าที่ไหน  เพราะเวลาใกล้จะมาถึงแล้ว


"   ปิดม่าน  "


จบมหาอุปรากร " นิรมิตหนองญาติ - นิราศหนองเซา "  องค์ที่ 5


 ตอน   "  นาย - เภอ นักฝันลั้นลา  เมื่อ มิยาซาว่า กำลังจะพา ซรวย "




วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คำชี้แจงจาก " ศาลปกครอง " คดีให้เพิกถอน นสล.หนองญาติ เลขที่.นพ 0038


 หนังสือชี้แจงจาก สำนักประธานศาลปกครองสูงสุด
วันที่ 14 มีนาคม  พ.ศ 2554





หนังสือขอทราบความคืบหน้า " คดีให้เพิกถอน นสล.หนองญาติ " ที่ฟ้องมาเกือบ 5 ปีแล้ว
ถึง  ประธานศาลปกครองสูงสุด
จาก ทนายความกลุ่มพนมนครานุรักษ์
วันที่ 28  มกราคม พ.ศ 2554 


 หนังสือชี้แจงจาก  ศาลปกครองขอนแก่น  ฉบับที่ 1
วันที่ 16 กรกฎาคม  พ.ศ 2550



 หนังสือชี้แจงจาก  ศาลปกครองขอนแก่น  ฉบับที่ 2 ว่าจะพิจารณาพิพากษาปีนี้
วันที่ 12  กุมภาพันธ์  พ.ศ  2552



หนังสือชี้แจงจาก  ศาลปกครองขอนแก่น  ฉบับที่ 3  อ่านแล้ว ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ
วันที่  22  กุมภาพันธ์  พ.ศ  2553 

o o o o o o o o o o

การพิจารณาคดี " ที่มีความลึกลับซับซ้อนที่สุด  ในประเทศไทย  "

เรื่อง หนองน้ำสาธารณะสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน  
กลายมาเป็น ที่ราชพัสดุ  ได้อย่างไร

มาตรา 4 "ที่ราชพัสดุ" หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์อันเป็น ทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด เว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังต่อไปนี้
(1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือ กลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน
(2) อสังหาริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ ของพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาป
ส่วนอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลและขององค์การปกครองท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ 


 คดีนี้ซับซ้อนซ่อนเงื่อนจนน่าเห็นใจ "  ศาลปกครองขอนแก่น " เป็นที่สุด