คดีการฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงของหนองญาติ

หนองญาติเป็น "หนองน้ำสาธารณะ " เพราะประชาชนคนไทยทั่วประเทศสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ทุกคน เป็นต้นว่า การเล่นน้ำ อาบน้ำ ว่ายน้ำ พายเรือ แข่งเรือ หาปลา พาวัวควายมากินมาเล่นน้ำ
ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า ที่ราษฎร์ หรือ ที่สาธารณะ
ภาษากฎหมาย เรียกว่า สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
มีกฎหมายให้การคุ้มครอง ห้ามการโอนแก่กัน ยกเว้นมีการถอนสภาพ โดยการออกกฎหมายในสภาฯเท่านั้น
คดีที่สาธารณะ ไม่มีอายุความ หมายความว่า ถึงจะครอบครองมานานแค่ไหน ก็เพิกถอนได้
กรมที่ดิน มีทะเบียนที่ระบุว่า หนองญาติ เป็นหนองน้ำสาธารณะประโยชน์ นี่เป็นหลักฐานข้อเท็จจริง

แต่จังหวัดนครพนมกลับไปขึ้นทะเบียน หนองญาติ เปลี่ยนจากอย่างหนึ่งไปเป็นอย่างหนึ่ง ในปีพ.ศ 2536
โดยเปลี่ยนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ที่ศาลากลางจังหวัด
และธนารักษ์พื้นที่นครพนม ได้นำหนองน้ำ"หนองญาติ" แห่งนี้ไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ ในปี พ.ศ 2546
ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า ที่หลวง
ภาษากฎหมาย เรียกว่า ที่ราชพัสดุ
นี่คงเป็น ที่ราชพัสดุ ที่แปลกมหัศจรรย์ที่สุดในประเทศไทย ที่เป็นเพียงหนองน้ำสาธารณะธรรมดาๆๆ
เพราะมีกฎหมายห้าม เอาที่สาธารณะ มาเป็น ที่ราชพัสดุ ตามพรบ.ที่ราชพัสดุ มาตรา 4
แต่ที่น่าพิศวง งงงวยที่สุดก็คือ เป็น " ที่ราชพัสดุ " แปลงที่มีการดำเนินงานนานที่สุด ตั้งแต่ พ.ศ 2516 - 2546 สิริรวม 30 ปึเต็ม เฮ้อ !

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

" นิรมิตรหนองญาติ - นิราศหนองเซา " มหาอุปรากรแห่งทศวรรษ องค์ที่ 2

                             องค์ที่  2   " เมื่อ น.ส ไม่มี น.ส 3  ก็เลยงามหน้า กระทาชาย "

เมื่อมีคนสงสัยว่า " หนองญาติ " แต่เดิมที่รัฐบาลสมัยนั้นอนุมัติที่สาธารณะน้ำท่วมถึงให้แค่ 100 ไร่  แล้วกลายมาเป็น 3,284 ไร่และเป็นที่ราชพัสดุได้อย่างไร
จึงมีหนังสือไปขอข้อมูลข่าวสารกับธนารักษ์พื้นที่นครพนม
ซึ่งฝ่ายนั้นก็ดีใจหาย  รีบมีหนังสือตอบมาทันใด
 

 อ้อ หนองญาติ ได้มาโดยการซื้อมาจากเจ้าของที่ดินตามสัญญาซื้อขาย โดยมีหลักฐาน  น.ส 3 จึงเป็นที่ราชพัสดุ  ตามมาตรา 5 ที่ว่า  ได้มาโดยการเวนคืนหรือการแลกเปลี่ยนหรือโดยประการอื่น 
เมื่อฟังแล้วก็ดูดีนะ  เพราะเป็นการชี้แจงที่มีหลักฐานหลักการดีตามรูปแบบของทางราชการ  เรื่องก็น่าจะจบลงด้วยความเข้าใจดี

หากแต่ ยังมีกระทาชายนายหนึ่ง  ที่เคยมาเที่ยวมาเล่นมาเห็นหนองญาติเกือบชั่วชีวิต  จำได้ว่าเมื่อ 50 ปีก่อน ทางครอบครัวพามากินข้าวป่า ( ปิกนิก ) มาเล่นน้ำจับปูจับปลา ที่ศาลากลางน้ำหนองญาติอยู่บ่อยๆ ก็ไม่เคยเจอเจ้าของหนองญาติ  ออกมาเก็บค่าเข้าเหยียบหนองญาติสักที  ก็เลยเกิดความอยากรู้ว่า  ใครเป็นเจ้าของหนองญาติ
เมื่อความสงสัยรุมเร้ามากขึ้น  จึงหอบสังขารและเอกสารที่เป็นหนังสือเลขที่ กก 0309.35 / 377 ดิ่งไปที่สำนักงานธนารักษ์พื้นที่นครพนม  
วันนั้นโชคดี  ที่ นส. จุฑามาศ  จันทรสร เจ้าของหนังสืออยู่  จึงขอเข้าพบและได้ถามถึงหลักฐาน น.ส 3 และ สัญญาการซื้อขายหนองญาติ ตามที่เธอใช้อ้างถึงการนำหนองญาติขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ  แรกๆเธอก็ยังตอบด้วยอารมณ์ดีและสารภาพว่า  เอกสารที่ว่านั่น เธอไม่มีหรอก  ถ้าอยากได้ก็ให้ไปขอที่กรมชลประทานเอาเอง  แต่ทางกระทาชายนายนั้นก็ไม่ยอม  บอกว่าเมื่อทางราชการอ้างถึงเอกสารใดๆก็น่าจะมีสิ่งนั้นเป็นประจักหลักฐานด้วย  เป็นเหตุให้เธอชักสีหน้า  แล้วคว้าแฟ้มที่อยู่ตรงหน้า  ออกมาพัดปัดไล่กระทาชายนายนั้น ให้ออกจากห้องทำงานของเธอไปในทันที
เอวัง ความชอบธรรมในการเอาหนองญาติขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ
ก็มีด้วยประการ ฉะนี้  ท่านผู้ชม

จบมหาอุปรากร " นิรมิตรหนองญาติ - นิราศหนองเซา "  องค์ที่  2

ตอน "  เมื่อ น.ส  ไม่มี น.ส 3  ก็เลยงามหน้า กระทาชาย  "




วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

" นิรมิตหนองญาติ - นิราศหนองเซา " มหาอุปรากรแห่งทศวรรษ


องค์ที่ 1  ลิงติดแห  ยิ่งแก้ ก็ยิ่งแน่น

โครงการผังแม่บทการพัฒนาบริเวณอ่างเก็บน้ำหนองญาติ
ครั้งที่ 1 วันพุธที่ 19 มกราคม 2548 เวลา 14.00 น.
ณ ห้องประชุมสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครพนม
หรือ
แผนฆาตกรรม " อ่างเก็บน้ำหนองญาติ "

รายนามคณะทำงานวางผังกำหนดพื้นที่การใช้ประโยชน์บริเวณที่ราชพัสดุ
แปลงหมายเลขทะเบียนที่ นพ 1347 อ่างเก็บน้ำหนองญาติ ตำบลหนองญาติ
อำเภอเมือง  จังหวัดนครพนม
หมายเลขที่ 1 - โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครพนม  หัวหน้าคณะทำงาน
( หน่วยงานนี้ได้ให้การที่เป็นประโยชน์ว่า  การทำผังบริเวณอ่างเก็บน้ำหนองญาติ
สืบเนื่องจาก  ได้รับหนังสือจากนักการเมืองคนหนึ่งขอความอนุเคราะห์ให้ช่วย
จัดทำให้  แต่เมื่อขอดูหนังสือฉบับนั้น  ก็ได้รับคำตอบว่า แฟ้มเอกสารหาย )

หมายเลขที่ 2 หัวหน้าโครงการชลประทานนครพนม   คณะทำงาน
( หน่วยงานนี้ได้ให้การที่เป็นประโยชน์ว่า  กรมชลประทานได้กรรมสิทธิ์ที่ดิน
โดยได้รับอนุมัติจากรัฐบาลในสมัยนั้น พ.ศ 2494 ให้สร้างอ่างเก็บน้ำในที่ดินซึ่ง
เป็นที่สาธารณะถูกเขตน้ำท่วมถึงประมาณ 100 ไร่ จึงไม่มีหลักฐานการได้มาของที่ดิน
พื้นที่ส่วนนี้ได้ก่อสร้างหัวงานชลประทาน เช่น ทำนบดิน , อาคารระบายน้ำ , ฝาย
คอนกรีตล้วน , คลองส่งน้ำคอนกรีต , อาคารโรงสูบน้ำ , บ้านพักคนงาน และพื้นที่
อ่างเก็บน้ำ
แต่ในพ.ศ 2515 ได้เดินสำรวจหนองญาติเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง
สำเร็จในปี 2516 การรังวัดตามใบใต่สวน ระบุว่าหนองญาติมีเนื้อที่ 3,284 ไร่ และระบุ
ว่า  ได้มาโดยการซื้อมาจากเจ้าของที่ดินตามสัญญาซื้อขาย มีหลักฐานเป็น น.ส 3 และ
ไม่มีผู้ใดคัดค้าน  แต่ความจริงมีผู้คัดค้าน จึงทำให้ออกหนังสือสำคัญฯไม่ได้
ในปี 2536 ได้ออกหนังสือสำคัญฯสำเร็จ ได้เลขที่ นพ 0038 เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม
โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ลงนาม
ในปี 2540 ได้โอนอ่างเก็บน้ำหนองญาติให้ อบต.หนองญาติเป็นผู้ดูแลและบำรุงรักษา
ในปี 2545 ได้ทำเรื่องส่งคืนที่ราชพัสดุถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม พร้อมกับการ
นำอ่างเก็บน้ำหนองญาติส่งขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ สำเร็จในวันที่ 16 มกราคม 2546
เป็นแปลงหมายเลขทะเบียนที่ นพ 1347 ชื่อผู้ใช้ประโยชน์ ก็ยังคงเป็นกรมชลประทาน
ไม่ใช่ อบต.หนองญาติ ดังที่กล่าวอ้างว่า  ได้โอนให้เป็นผู้ดูแลรักษาแทนไปแล้ว
ก็น่าสงสัยว่า  หนองญาติเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แล้วโอนได้อย่างไร
ในปี 2552 อธิบดีกรมชลประทาน ทำโครงการขุดลอกหนองญาติเป็นครั้งที่ 2 และ
ทำโครงการป้องกันอุทกภัยให้หนองญาติ ด้วยงบประมาณ 30 ล้านบาท บนพื้นที่
การดูแลและบำรุงรักษาของเทศบาลตำบลหนองญาติ
งานหมูๆเช่น ขุดๆๆ ถมๆๆ แบบนี้  ช่างกิ๊กก๊อกที่ไหนก็ทำได้ไม่จำเป็นต้องใช้
สติปัญญาแบบผู้เชี่ยวชาญการทำอ่างเก็บน้ำฯ จากหน่วยงานกรมชลประทาน เลย
หากมั่นใจว่า  หน่วยงานชลประทานเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในเรื่อง อ่างเก็บน้ำจริง ละก็
ขอถามหน่อยว่า  การดูแลรักษาอ่างเก็บน้ำหนองญาติ นับแต่ปี 2496 ถึงปัจจุบัน
ดูแลกันยังไง  ใช้งบฯไปเท่าไหร่ ทำไมอ่างฯจึงตื้นเขินรกเรื้อ เกิดมีสันดอนกลางน้ำ 
จากที่เคยมีเนื้อที่ 4,950 ไร่ จนมาเหลือเพียง 2,000 ไร่ ในวันนี้
เห็นทีจะต้องให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ลงมาดูบัญชีชลประทานนครพนม
ซักกะหน่อยว่า  ตลอดเวลา 50 กว่าปีนี่  ได้เบิกเงินไปทำนุบำรุงอ่างฯ กี่บาท ??
ที่สำคัญ คือ การโอนหนองญาติ ให้อบต.หนองญาติ ไปดูแลแทนนั้น ไปถึงไหนแล้ว ?

หมายเลขที่ 3 ธนารักษ์พื้นที่นครพนม   คณะทำงาน
( หน่วยงานนี้ได้ให้การที่เป็นประโยชน์ว่า  ได้มาโดยการซื้อจากเจ้าของที่ดิน
มีสัญญาซื้อขาย และมีหลักฐานเป็น น.ส 3 จึงเป็นที่ราชพัสดุ ตามมาตรา 5 ตาม
พรบ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ 2518 )

หมายเลขที่ 4 เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครพนม  คณะทำงาน
( หน่วยงานนี้ได้ให้การที่เป็นประโยชน์ว่า  กรมชลประทานได้กรรมสิทธิ์ที่ดิน
ที่รัฐบาลสมัยนั้น 2494  อนุมัติให้  100 ไร่ )

หมายเลขที่ 5 ผู้อำนวยการกองช่างเทศบาลเมืองนครพนม คณะทำงาน/เลขาฯ

หมายเลขที่ 6 ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายปกครองฯ  คณะทำงาน / ผช.เลขาฯ

หมายเลขที่ 7 นายช่างสำรวจ 7 ธนารักษ์นครพนม คณะทำงาน / ผช.เลขาฯ





ธนารักษ์พื้นที่นครพนม ชื่อ นางสาวจุฑามาศ จันทสร ยืนยันในที่ประชุมว่า
หนองญาติเป็นที่ราชพัสดุมิใช่ที่สาธารณะประโยชน์ 
โปรดสังเกตุว่า  หนองญาติมีเนื้อที่ 2,769.596 ไร่
น้อยกว่าที่ระบุในหนังสือสำคัญฯที่เธอกอดไว้แน่นยิ่งชีวิต ถึง 510 ไร่



นางสาวจุฑามาศ จันทสร  ยังยืนยันอีกว่า  การขออนุญาตใช้พื้นที่
จะต้องได้รับหนังสือยินยอมจากชลประทานก่อน เพราะเป็นผู้ขอใช้พื้นที่ทั้งหมด
แสดงว่า การโอนหนองญาติไปให้ อบต.หนองญาติดูแลแทน เป็นเรื่องโกหก
เพราะสาธารณสมบัติของแผ่นดิน  มันโอนแก่กันไม่ได้





จบมหาอุปรากร " นิรมิตหนองญาติ  นิราศหนองเซา "  องค์ที่ 1

ตอน  " ลิงติดแห  ยิ่งแก้  ก็ยิ่งแน่น "

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

เห็นม๊อบที่ไหน ก็เห็นคนใกล้ (จะ ) ขาดอากาศหายใจ ที่นั่น






สงสารแต่ เปาบุ้นจิ้น , สำนักงบประมาณ , สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และ ปปช.  ที่เป็นคนอยากหัวเราะให้ฟันร่วงหมดปาก  เพราะสิ่งที่เห็นกำลังพะเงิบพะงาบอยู่ตรงหน้า ล้วนแล้วแต่ตัวเป้งๆ มีทั้งระดับชาติ ระดับกรม ระดับภาค  ระดับภูธร และระดับภูท้อน ภูทอน
จะจัดการยังไงดี โว๊ย    


ข้อมูลที่ ศาล ยังไม่ได้รับ ( อัปเดท )


    คำสั่งศาลกับการทำงานโครงการแก้ปัญหาอุทกภัยหนองญาติ ของกรมชลประทาน

    ความจริง  ทางสำนักงานโครงการชลประทานนครพนม ได้ทำการโอนอ่างเก็บน้ำหนองญาติ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลหนองญาติ ไปดูแลแทน ตั้งแต่ปี พ.ศ 2540 แล้ว (มีเอกสารประกอบการโอนเป็นทางการด้วย ) และยังได้ทำเรื่อง " ขอส่งคืนที่ราชพัสดุ " ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2545  เพื่อคืนหน้าที่การดูแลหนองญาติ  
ซึ่งนัยยะนี้  ก็น่าจะแปลว่า  กรมชลประทานได้ตกลงปลงใจที่จะยุติ (จริงๆ) หน้าที่เกี่ยวข้องทุกประการกับอ่างเก็บน้้ำหนองญาติ ไปแล้ว ใช่ใหม





หนังสือฉบับนี้  ก็บอกชัดเจนว่า  ทางอำเภอเมืองไม่ได้ขออนุญาตใช้พื้นที่อ่างเก็บน้ำหนองญาติ เพื่อก่อสร้างที่ว่าการอำเภอเมืองหลังใหม่ กับชลประทานนครพนม  เนื่องจากชลประทานได้โอน " หนองญาติ " ให้ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองญาติ ( ขณะนั้น ) เป็นผู้ดูแลแทนไปแล้ว เมื่อ วันที่ 15 ตุลาคม 2540










หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ นพ 0038 " จดหมายผิดซอง "
แทนที่จะออกในบริเวณที่ 100 ไร่ ที่รัฐบาลสมัย 2494 อนุมัติให้
เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ เป็นที่ตั้งหัวงานชลประทาน  ที่มีสิ่งก่อสร้าง เช่น
อาคารระบายน้ำ , ฝายคอนกรีต , คลองส่งน้ำคอนกรีต ยาว 2.820 กม.
อาคารโรงสูบน้ำ , บ้านพักคนงาน 1 หลัง 



กลับมาออกหนังสือสำคัญฯ ให้กับบริเวณหนองน้ำสาธารณะ " หนองญาติ "
แผนที่ดังกล่าวนี้  เป็นเอกสารประกอบหนังสือสำคัญฯ เลขที่ นพ 0038
ระบุเนื้อที่ 3284  ไร่ และใบใต่สวน ของผู้ทำการรังวัด ชื่อ นายประทับ พรหมไชยศรี
ที่ระบุว่า  การได้มาของหนองญาติ โดยการซื้อจากเจ้าของ
มีสัญญาซื้อขาย และมีหลักฐานเป็น  นส. 3  จนธนารักษ์พื้นที่นครพนมนำมาอ้าง
การครอบครองหนองญาติ  และนำหนองน้ำ " หนองญาติ " ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ
ซึ่ง การซื้อหนองญาตินี้  มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้และเป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระสิ้นดี
ไม่น่าเชื่อว่า  เรื่องอย่างนี้  กรมธนารักษ์  ก็นำมาใช้อ้างการครอบครองหนองญาติได้

อาจจะเป็นได้ว่า  นายประทับ พรหมไชยศรี  น่าจะไปสำรวจหนองน้ำเล็กๆที่ไหนซักแห่งแถวๆ
ร้านอาหารไฟสีแดงหรือบาร์เหล้าหรือซ่องที่มีไว้บริการพวกจีไอ  ที่มีอยู่ดาษดื่นในสมัยนั้น
และที่สำคัญ  ฐานทัพทหารอเมริกาก็ตั้งอยู่ใกล้ๆหนองญาติ ซะด้วยสิ




นี่คือ หนังสือรับรองว่า  หนองญาติ มีเนื้อที่เพียงแค่ 100 ไร่ ตามที่รัฐบาลอนุมัติ





มีคำถามถึงกรมธนารักษ์ว่า  แล้วที่ดินจำนวน 100 ไร่ ที่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลสมัยนั้น
หายไปไหน  มีหนังสือสำคัญฯ หรือ ไม่ ? ( ขออภัยตัวเลข 3280 ควรเป็น 3284 ไร่ )









การมอบโอน " อ่างเก็บน้ำหนองญาติ " ระหว่าง 2 หน่วยงาน
กรมชลประทาน และ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองญาติ
โปรดสังเกตุว่า  รายการที่ 1 สิ่งก่อสร้างต่างๆ  ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ของหนองญาติ
เพราะ สิ่งก่อสร้างเหล่านั้น  สร้างบนพื้นที่ๆรัฐบาลสมัยนั้น อนุมัติให้แค่ 100 ไร่
ดังนั้น ถ้าจะออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง นพ 0038 ให้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว
เนื้อที่ของหนองญาติในหนังสือสำคัญฯ  จะตัองมีจำนวน 3,384 ไร่ ไม่ใช่ 3284
แล้วที่ดินจำนวน 100 ไร่ ที่ใช้เป็นที่ตั้งหัวงานชลประทาน หายไปไหน ???
หรือว่า  เกิดรายการมั่วซั่ว สลับเอาของราษฏร์ มาเป็นของหลวง  ซะแล้ว ?










จากหนังสือของสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แสดงว่า  หน่วยงานนี้ก็ทราบดีว่า  หนองญาติ มีที่ดิน 2 ลักษณะปะปนกัน
และการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ นพ 0038 นี้มีปัญหาแน่ๆ
เพราะสภาพทางกายภาพของ " หนองญาติ " คงจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
นอกจากเป็นหนองน้ำที่เกิดตามธรรมชาติ ชุมชนก็ใช้ประโยชน์ร่วมกันมาตลอด
 ไม่ใช่ " อ่างเก็บน้ำ " ที่มนุษย์สร้าง
ที่สำคัญ ตามพรบ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ 2516 ที่ออกมาพร้อมกับการสำรวจหนองญาติ
ก็ระบุชัดเจนว่า  ที่สาธารณะพลเมืองใช้ร่วมกัน  ไม่เป็น " ที่ราชพัสดุ "
และ การนำหนองน้ำมาขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ  จะหาประโยชน์อะไรได้เล่า

  

    และเหตุใดในปี พ.ศ 2542 จึงยังเวียนว่าย เอ๊ย จึงหวลกลับมารับงานการขุดลอกหนองญาติ แล้วนำดินที่ขุดลอกได้นำกลับมาถมหนองญาติ  เป็นถนนรอบหนอง  เป็นสนามกีฬา และที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนม เสียล่ะ  ขอถามว่า  การขุดลอกแล้วนำดินที่ได้เอากลับมาถมหนองอีกนี่  มันเป็นภารกิจทางชลประทาน ประเภทใด  พัฒนาหนองน้ำ หรือ ถมหนองน้ำ  ????  (  อ้อ  ถ้าจำไม่ผิด  การขุดลอกในคราวนั้น  ก็เกิดมีคดีผู้รับเหมาฟ้องศาลในเรื่อง ไม่จ่ายเงินค่างวดด้วย  ทุกวันนี้  ก็ยังไม่รู้เลยว่าคดีนี้สิ้นสุดหรือยัง )


     งานล่าสุดที่หนองญาติ  ใช้เงินโครงการไทยเข้มแข็ง จำนวน 30 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมหนองญาติ ( ทั้งๆที่ไม่เคยเกิดน้ำท่วมหนองญาติในรอบ 50 ปี )  ด้วยการขุดลอกแล้วนำดินกลับมาถมหนองอีกเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ที่กลางหนอง ก็ขอถามทุกๆคน(ยกเว้นศาล)ว่า งานลักษณะอย่างนี้   เป็นการพัฒนาพื้นที่หนองญาติ หรือ การทำลายหนองญาติ
     เพราะแทนที่จะขุดลอก พัฒนาให้หนองญาติหายตื้นเขินและปรับปรุงระบบนิเวศน์ของหนองญาติให้คงสภาพเดิมๆตามธรรมชาติ  อีกอย่างหนองญาติยิ่งนับวันก็ยิ่งตื้นเขินและพื้นที่น้ำที่มีก็เหลือแค่ 2000 ไร่ หดหายไปมากกว่าเดิมจากที่เคยมีถึง 3280 หรือ 4950 ไร่
      ที่ผิดสังเกตุมากๆๆๆ อีกเรื่องหนึ่ง คือ  การจะค้นหาข้อมูลของหนองญาติทางอินเตอร์เนท ว่าหน่วยงานใดทำหน้าที่รับผิดชอบ " เป็นผู้ดูแลคุ้มครองป้องกันหนองญาติ "  ทุกวันนี้ยังหาไม่เจอ ไม่เคยพบในเวปไซต์ของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรฯ กรมที่ดิน อำเภอเมืองนครพนม  เทศบาลตำบลหนองญาติ  หรือแม้กระทั่งสำนักงานโครงการชลประทานนครพนมเอง  อุ แม่เจ้า เอ๊ย
        ขอจุดธูป 9 ดอกงามๆถึง " ศาลเพียงตาเทพารักษ์ " ว่า    อันว่า ห้วยหนองคลองบึง เช่น หนองน้ำหนองญาติ นี่ เทวดาเมื่อหลายร้อยปีก่อนท่านตั้งใจทำ ให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน หรือ ให้ราชการใช้ร่วมกัน   เจ้าข้าเอ๊ย  ??????   

รายนามโครงการในภารกิจของสำนักงานชลประทานนครพนม
               4.  ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1 มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแลการส่งน้ำและบำรุงรักษา โครงการขนาดกลาง โครงการตามพระราชดำริ โครงการพิเศษ วางแผนบริการโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งงานพัฒนาแหล่งน้ำต่าง ๆ ที่อยู่นอกเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา ประสานงานกับอำเภอและเกษตรกรในการพิจารณาแก้ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับงานส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูก ดำเนินการจัดตั้งกลุ่ม ผู้ใช้น้ำ จัดฝึกอบรมเกษตรกรให้มีความรู้เรื่องการใช้น้ำอย่างถูกวิธี ควบคุมงานก่อสร้างปรับปรุงซ่อมแซมบำรุงรักษาอาคารชลประทาน ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายในท้องที่อำเภอที่รับผิดชอบ   2  อำเภอ  คือ อำเภอเมือง  และอำเภอปลาปาก  ครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ  875,187 ไร่ มีโครงการชลประทานที่อยู่ในความรับผิดชอบจำนวนทั้งสิ้น 8 โครงการ ประกอบ
ด้วย
โครงการชลประทานขนาดกลาง จำนวน 2 โครงการ
1.       โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยส้มโฮง บ.นาโพธิ์ ต.บ้านผึ้ง อ.เมือง จ.นครพนม พื้นที่ชลประทาน 3,000 ไร่

2.     โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแคน บ.หนองกกคูณ ต.หนองฮี อ.ปลาปาก จ.นครพนม พื้นที่
ชลประทาน 5,000 ไร่
โครงการชลประทานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 6 โครงการ
1.       โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยดงน้อย บ.โนนชมภู ต.วังตามัว อ.เมือง จ.นครพนม พื้นที่ชลประทาน  100 ไร่

2.     โครงการอ่างเก็บน้ำบุ่งหมากโมง บ.คำสว่างน้อย ต.วังตามัว อ.เมือง จ.นครพนม พื้นที่
ชลประทาน 1,000 ไร่

3.     โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหินชะแนน บ.ห้วยไหล่ ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม พื้นที่
ชลประทาน 1,800 ไร่
4.       โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยบัง บ.โคกกลาง อ.ปลาปาก จ.นครพนม
5.       โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยบง บ.ทันสมัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม
6.       โครงการฝายทดน้ำห้วยอีเริง บ.ห้วยไหล่ ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม
รวมพื้นที่ชลประทานของโครงการชลประทานขนาดกลางและโครงการชลประทานอันเนื่องมาจากพระราชดำริประมาณ 10,900 ไร่
5.  ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2  มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแลการส่งน้ำและบำรุงรักษา โครงการขนาดกลาง โครงการตามพระราชดำริ โครงการพิเศษ วางแผนบริการโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งงานพัฒนาแหล่งน้ำต่าง ๆ ที่อยู่นอกเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา ประสานงานกับอำเภอและเกษตรกรในการพิจารณาแก้ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับงานส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูก ดำเนินการจัดตั้งกลุ่ม ผู้ใช้น้ำ จัดฝึกอบรมเกษตรกรให้มีความรู้เรื่องการใช้น้ำอย่างถูกวิธี ควบคุมงานก่อสร้างปรับปรุงซ่อมแซมบำรุงรักษาอาคารชลประทาน ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย  ในท้องที่อำเภอที่รับผิดชอบ  3  อำเภอ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอนาแก อำเภอเรณูนคร อำเภอธาตุพนมและกิ่งอำเภอวังยาง  ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ  801,800  ไร่ มีโครงการชลประทานที่อยู่ในความรับผิดชอบจำนวนทั้งสิ้น 16 โครงการ ประกอบด้วย
โครงการชลประทานขนาดกลาง จำนวน 3 โครงการ
1.       โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยก้านเหลือง บ.จอมศรี ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม พื้นที่ชลประทาน 7,840 ไร่
2.       โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยศรีคุณ บ.นาป่งครอง ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม พื้นที่ชลประทาน   2 ,000 ไร่
3.       โครงการอ่างเก็บน้ำร่องกระเบา บ.ดอนสวรรค์ ต.อุ่มเหม้า อ.ธาตุพนม จ.นครพนม พื้นที่ชลประทาน 25 ไร่
โครงการชลประทานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 13 โครงการ
1.       โครงการอ่างเก็บน้ำบ้านดงน้อย บ.ดงน้อย ต.พิมาน อ.นาแก จ.นครพนม พื้นที่ชลประทาน 7,200 ไร่
2.       โครงการอ่างเก็บน้ำบ้านดอนพัฒนา บ.ดอนพัฒนา ต.พิมาน อ.นาแก จ.นครพนม พื้นที่ชลประทาน 100 ไร่
3.       โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยนางยอด บ.โคกสวัสดิ์ ต.พุ่มแก อ.นาแก จ.นครพนม พื้นที่ชลประทาน 400 ไร่
4.       โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยผักดอก บ.นาฮี ต.คำพี้ อ.นาแก จ.นครพนม พื้นที่ชลประทาน 1,200 ไร่
5.       โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยนางออ บ.โพนดู่ ต.หนองบ่อ อ.นาแก จ.นครพนม พื้นที่ชลประทาน 1,200 ไร่
6.       โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกกคูณ บ.จำปาทอง ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม พื้นที่ชลประทาน 1,200 ไร่
7.       โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยวังม่วง บ.นาผือ ต.คำพี้ อ.นาแก จ.นครพนม พื้นที่ชลประทาน 1,200 ไร่
8.       โครงการฝายทดน้ำบ้านโพนดู่ บ.โพนดู่ ต.หนองบ่อ อ.นาแก จ.นครพนม
9.       โครงการฝายทดน้ำห้วยหว้าน บ.แก้งน้อย ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม
10.    โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกะเบา บ.ดงหมู ต.อุ่มเหม้า อ.ธาตุพนม จ.นครพนม พื้นที่ชลประทาน 1,000 ไร่
11.    โครงการอ่างเก็บน้ำบ้านดงหมู บ.ดงหมู ต.อุ่มเหม้า อ.ธาตุพนม จ.นครพนม พื้นที่ชลประทาน 150 ไร่
12.    โครงการประตูระบายน้ำบ้านนาขาม บ.นาขาม ต.วังยาง กิ่ง อ.วังยาง จ.นครพนม
13.    โครงการประตูระบายน้ำบ้านนาคู่ บ.นาคู่ ต.นาคู่ อ.นาแก จ.นครพนม
รวมพื้นที่ชลประทานของโครงการชลประทานขนาดกลางและโครงการชลประทานอันเนื่องมาจากพระราชดำริประมาณ 23,515 ไร่


6.  ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 3  มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแลการส่งน้ำและบำรุงรักษา โครงการขนาดกลาง โครงการตามพระราชดำริ โครงการพิเศษ วางแผนบริการโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งงานพัฒนาแหล่งน้ำต่าง ๆ ที่อยู่นอกเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา ประสานงานกับอำเภอและเกษตรกรในการพิจารณาแก้ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับงานส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูก ดำเนินการจัดตั้งกลุ่ม ผู้ใช้น้ำ จัดฝึกอบรมเกษตรกรให้มีความรู้เรื่องการใช้น้ำอย่างถูกวิธี ควบคุมงานก่อสร้างปรับปรุงซ่อมแซมบำรุงรักษาอาคารชลประทาน ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายในท้องที่อำเภอที่รับผิดชอบ  6  อำเภอ  คือ  อำเภอท่าอุเทน  อำเภอศรีสงคราม  อำเภอนาหว้า  อำเภอบ้านแพง  อำเภอโพนสวรรค์  และอำเภอนาทม  ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ  1,768,430  ไร่ มีโครงการชลประทานที่อยู่ในความรับผิดชอบจำนวนทั้งสิ้น 1 โครงการ คือ
โครงการชลประทานขนาดกลาง จำนวน 1 โครงการ

1.     โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยเชียงยืน บ.เชียงยืน ต.เวินพระบาท อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม พื้นที่
ชลประทาน 600 ไร่
พยายามดูเท่าไหร่ หาเท่าไหร่ ก็ไม่เห็นมีรายชื่อ " หนองญาติ " อยู่ในสาระบบ




วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

น้ำ (หนองญาติ) ลด สะ - ตอ เบอร์รี่ ก็ผลุด











ใจความของเอกสารทั้ง 4 แผ่นนี้  บ่งบอกถึง ความอ้างว้างเดียวดายสุดขีดของผู้เขียน
จนเกิดความรู้สึก  อยากหา แพะ หาแกะ ซักฝูง มาเลี้ยงในทันใด
อันที่จริงเรื่องนี้  ใครๆเขาก็รู้ว่า  แผนการย้ายอำเภอฯนี้ ได้เตรียมการมาเป็นอย่างดีแล้ว
ในช่วงปลายมีนา 2542   ประชุมเช้าที่จังหวัด  ประชุมบ่ายที่ตำบล
ในวันถัดมา  ก็มีจดหมายมาถึงเจ้าหน้าที่ฯ  ให้เตรียมตัวไปชี้ตำแหน่งให้ผู้รับเหมา
ที่จะมาในวันที่ 23 เมษา  ก็แปลว่า ประชุมเสร็จปุ๊บ  อีก 20 กว่าวันก็สร้างปั๊บ
ขอฝาก  สุภาษิต " สอนข้าราชการ "   เป็นที่ระลึก ซักบท
"  ทำงานตามกฏหมาย  แล้วชีวิตจะเด่นดัง  "
"  ทำงานตามใจ (นาย )สั่ง   ชีวิตจะเดียวดาย  "







หนังสือร้องเรียนไปยังนายกรัฐมนตรี


จดหมายลืมลงลายเซ็นต์













ฉบับใหม่ที่ลงลายเซ็นต์ของสมาชิกกลุ่มฯ ทุกคนก็ได้ส่งไปแล้ว