คดีการฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงของหนองญาติ

หนองญาติเป็น "หนองน้ำสาธารณะ " เพราะประชาชนคนไทยทั่วประเทศสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ทุกคน เป็นต้นว่า การเล่นน้ำ อาบน้ำ ว่ายน้ำ พายเรือ แข่งเรือ หาปลา พาวัวควายมากินมาเล่นน้ำ
ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า ที่ราษฎร์ หรือ ที่สาธารณะ
ภาษากฎหมาย เรียกว่า สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
มีกฎหมายให้การคุ้มครอง ห้ามการโอนแก่กัน ยกเว้นมีการถอนสภาพ โดยการออกกฎหมายในสภาฯเท่านั้น
คดีที่สาธารณะ ไม่มีอายุความ หมายความว่า ถึงจะครอบครองมานานแค่ไหน ก็เพิกถอนได้
กรมที่ดิน มีทะเบียนที่ระบุว่า หนองญาติ เป็นหนองน้ำสาธารณะประโยชน์ นี่เป็นหลักฐานข้อเท็จจริง

แต่จังหวัดนครพนมกลับไปขึ้นทะเบียน หนองญาติ เปลี่ยนจากอย่างหนึ่งไปเป็นอย่างหนึ่ง ในปีพ.ศ 2536
โดยเปลี่ยนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ที่ศาลากลางจังหวัด
และธนารักษ์พื้นที่นครพนม ได้นำหนองน้ำ"หนองญาติ" แห่งนี้ไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ ในปี พ.ศ 2546
ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า ที่หลวง
ภาษากฎหมาย เรียกว่า ที่ราชพัสดุ
นี่คงเป็น ที่ราชพัสดุ ที่แปลกมหัศจรรย์ที่สุดในประเทศไทย ที่เป็นเพียงหนองน้ำสาธารณะธรรมดาๆๆ
เพราะมีกฎหมายห้าม เอาที่สาธารณะ มาเป็น ที่ราชพัสดุ ตามพรบ.ที่ราชพัสดุ มาตรา 4
แต่ที่น่าพิศวง งงงวยที่สุดก็คือ เป็น " ที่ราชพัสดุ " แปลงที่มีการดำเนินงานนานที่สุด ตั้งแต่ พ.ศ 2516 - 2546 สิริรวม 30 ปึเต็ม เฮ้อ !

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คำพิพากษาศาลปกครองขอนแก่น ยกฟ้องคดีเพิกถอน นสล.หนองญาติ ด้วยเสียง 2 ต่อ 1 องค์คณะ














คำพิพากษายกฟ้อง ของตุลาการศาลปกครองขอนแก่นเสียงข้างมาก 2 ใน 3  องค์คณะ
แต่ให้คำสั่งศาล ลงวันที่ 14 กันยายน 2549  ที่กำหนดมาตรการ หรือ 
วิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา  โดยห้ามมิให้กรมธนารักษ์
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2  อนุญาตให้หน่วยงานใดเข้าไปใช้พื้นที่ราชพัสดุ แปลงหมายเลขทะเบียน
นพ  1347  เพิ่มเติมอีกต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
(  ท้ายคำพิพากษาบางส่วนจากจำนวน 37  หน้า  )

ooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo










ความเห็นแย้ง ของ ตุลาการหัวหน้าศาลปกครองขอนแก่น เสียงข้างน้อย
ของที่ประชุมองค์คณะที่ 3 ไม่เห็นพ้องด้วยกับเสียงข้างมาก และ มีความเห็นแย้ง
พิพากษาให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง นพ 0038  ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2536 
เฉพาะส่วนที่ทับซ้อนหนองน้ำหนองญาติซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภท 
ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน  เนื้อที่ 1,190 ไร่  
และ เพิกถอนทะเบียนที่ราชพัสดุจังหวัดนครพนม แปลงหมายเลข นพ  1347  
ลงวันที่ 16 กรกฏาคม  2546  ในส่วนที่เป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
เนื้อที่ 1,190  ไร่ ดังกล่าว  โดยให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่ วันที่ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง
และขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ ดังกล่าว

ส่วน ผู้ฟ้องคดีที่ 1 และ พวกฯ และ ทนายความ จะต้องยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วัน
นับแต่ ศาลปกครองขอนแก่น ได้มีคำพิพากษาครั้งที่ 1
คือ  ก่อน วันที่ 23  กันยายน  2554 





วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อดีต ธนารักษ์พื้นที่นครพนม ยืนยันว่า หนองญาติ เป็น ที่ราชพัสดุ โดยการซื้อมาจากเจ้าของ



นางสาวจุฑามาศ  จันทรสร
อดีต ธนารักษ์พื้นที่นครพนม
ให้สัมภาษณ์กับ คุณทวี อภิชาติสกุล นักข่าวหนังสือพิมพ์และทีวี ประจำจังหวัดนครพนม
ที่สงสัยว่า   นำหนองน้ำสาธารณะ " หนองญาติ "  ไปขึ้นทะเบียนเป็น  ที่ราชพัสดุ  ได้ยังไง
เมื่อ วันที่ 1 มีนาคม 2548  ณ ห้องทำงาน สำนักงานธนารักษ์พื้นที่นครพนม


เธอชี้แจงการครอบครอง ที่ราชพัสดุ แปลงเลขที่ นพ 1347  แปลงพิศดารที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย
เพราะ เป็นเพียงหนองน้ำที่เกิดตามธรรมชาติ  " หนองญาติ  " ที่อ้างว่า ได้มาโดยการซื้อมาจากเจ้าของ 
ด้วยสีหน้าที่เชื่อมั่นและเรียบเฉย ไม่มี  อาการสะทกสท้าน หรือ เคอะเขินแม้แต่น้อย 
กับการพูดถึง " การซื้อหนองน้ำทั้งหนอง  ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในทางกฎหมาย "
แล้ว กรมชลประทาน เอางบประมาณประเภทใดไปซื้อ หนองญาติ มาทำอ่างเก็บน้ำ ล่ะ
แล้ว จะมีใครกล้าออกมายืนยันใหมว่า  ตัวเองเป็นเจ้าของหนองญาติ และ ขายได้เงินเท่าไหร่
ถ้า ราชการประเทศไทย ทำงานมักง่ายโง่ๆแบบนี้  รับรองว่า ที่ดินของรัฐ  จะ








หญิง ใจร้าย พูดได้หน้าตาเฉยว่า  หนองน้ำสาธารณะ นี้ สามารถซื้้อขายกันได้


คลิปวีดีโอ  การสัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 1  มีนาคม  2548
 พูดถึง เจ้าหน้าที่เดินสำรวจกรมชลประทาน ได้ซื้อหนองญาติหลายพันไร่ จากเจ้าของ มีสัญญาซื้อขาย
และ มีหลักฐาน เป็น นส. 3  ซึ่งได้รวบรวมเอกสารทั้งหมดไว้ที่ กรมชลประทาน
เมื่อ ชมจบแล้ว  ก็ช่วยกัน แสดงความคิดเห็นด้วยครับ ว่าเป็นเรื่อง จริง หรือ เท็จ
( คลิป วีดีโอ นี้ได้ถูกหลงลืม ตกหล่น ไปเป็นเวลาถึง 6 ปี  )



วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

" นิรมิตรหนองญาติ - นิราศหนองเซา " มหาอุปรากรแห่งทศวรรษ องค์ที่ 5


องค์ที่ 5 " นาย - เภอ นักฝันลั้ลลา  เมื่อ มิยาซาว่า  กำลังจะพา ซรวย     "

 oooooooooooooooooooooo

ลั้นลา  แปลว่า  อารมณ์ดี  มีความสุข ประมาณว่า ดีใจ จนกระโดดตัวลอย
ซรวย -  ออกเสียงตาม ราชบัณฑิต "  ซะ - รวย  "
ซรวย -  ออกเสียงตาม  ราษฏร์นิยม  "  ซวย  "


 หนองญาติ  เป็นหนองน้ำที่เกิดตามธรรมชาติมาเมื่อหลายร้อยปีก่อน  จึงเข้าลักษณะ
เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน  ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1304
" ที่ชายตลิ่ง  ทางน้ำ  ทางหลวง  ทะเลสาบ  "  จะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยกฏหมายเฉพาะ
ประมวลกฏหมายที่ดิน  กำหนดให้ " อธิบดีกรมที่ดิน " สังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ดูแล
ตามมาตรา 8  และมี กรมการอำเภอ มีหน้าที่ปกปักรักษา ตาม พรบ.ลักษณะปกครองท้องที่
โดยมีนายอำเภอท้องที่ เป็นผู้ดูแลให้การคุ้มครองป้องกันและการออกหนังสือสำคัญ ( นสล.)


ดังนั้นหาก  นายอำเภอ คนใด แยกแยะไม่ออก ระหว่าง " ที่ดิน " กับ " หนองน้ำ " 
ก็ต้องให้ต้นสังกัด คือ มหาดไทย ตั้งคณะกรรมการมาสอบสวนว่า
" แกล้งไม่รู้ไม่เข้าใจ  หรือ โง่เขลาเบาปัญญา หรือ ฟั่นเฟือน  "

นายอำเภอท้องที่  นอกจากมีหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว
ยังเป็นผู้ตรวจสอบการออกโฉนดที่ดิน และเป็นพยานชี้แนวเขตที่ดินด้วย
แต่ ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมาแล้วก็คือ  มีอดีตนายอำเภอหลายคน ที่ไม่ใช่คนในท้องที่
ครอบครองที่ดินแปลงสวยๆ แปลงใหญ่ๆ ในพื้นที่ ที่ไม่น่าจะมีสิทธิ์ทำได้
ลองมีคนขุดคุ้ยขึ้นมาอีกที สิ  รับรองจะมีคนติดคุกนับสิบ เป็นแน่


ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดิน
อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
 เป็น  ภารกิจที่สำคัญอันหนึ่ง หรือ ที่สุด ของบรรดานักปกครอง " นายอำเภอ " ต้องใส่ใจ
ว่า  บรรดา ห้วย หนอง คลอง บึง นี่ มันเป็น " ที่สาธารณะ " ที่ต้องป้องกันไม่ให้ใครบุกรุก
แต่ในกรณี " หนองญาติ "  กลับกลายเป็นว่า " ผู้ดูแล " กลับเป็น " ผู้บุกรุก " เสียเอง
จะว่า คนคิดทำ มัน โง่เง่า บ้าระห่ำ  บ้าอำนาจ เหิมเกริม หรือ ประพฤติชั่ว  ก็ถูก ทุกข้อ

ooooooooooooooooooooo

"  เปิดเวที  "


" ปฐมบท " ของ การบุกรุกเข้าครอบครอง " หนองญาติ " โดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย

 ที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนม ที่ถนนอภิบาลบัญชา เทศบาลเมืองนครพนม
ในอดีต ปี 2542  ก่อนจะถูกย้ายไปหนองญาติ



โดย มีตัวเอกของเรื่อง  เป็นนายอำเภอเมืองฯ ขณะนั้น ชื่อ  ชวลิต  วิชยสุทธิ์ 
ตั้งเรื่องว่า  " อำเภอเมืองเดิม ก่อสร้างมานาน 30 ปี มีสภาพเก่าทรุดโทรมและคับแคบ  "
( เสียดายที่หนังสือชี้แจงฉบับนั้นยังหาไม่เจอ ) 

จึงมีหนังสือ ( ด่วนที่สุด ) เมื่อวันที่ 29 มึค. 2542 ไปเรียน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม
ถึงเรื่อง  " การย้ายที่ว่าอำเภอเมืองนครพนม  " 
อ้างว่า  ได้รับ " การประสานเป็นการภายใน "  ( งานสำคัญใหญ่บะฮึ่มขนาดนี้ ก็ยังมีเป็นการภายใน ) จาก ผอ.ส่วนระบบการปกครอง สำนักบริหารการปกครองท้องที่  กรมการปกครอง " ว่า สมควรได้รับงบประมาณในการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอเมืองหลังใหม่  " นี่มันงุบงิบมั๊ย "
 




 หนังสือเลขที่ นพ. 0118 / 1535 ลงวันที่ 29 มีนาคม  2542



บันทึกรายงานการประชุม หัวหน้าส่วนราชการอำเภอเมืองนครพนม
เมื่อ วันที่ 29 มีนาคม 2542  เวลาประชุม  09.00 น
ณ  ห้องประชุมอำเภอเมืองนครพนม




 บันทึกรายงานการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองญาติ
ครั้งที่  พิเศษ / 2542 วันที่ 29 มีนาคม 2542  เวลาประชุม 17.00 น ( วันเดียวกัน )
ประชุม ณ ห้องประชุม สภาฯ อบต.หนองญาติ

ลองคิดดูว่า อำเภอเมือง  ที่มีหน้าที่สำคัญที่ต้องให้การบริการความสะดวกแก่ประชาชน
มีการประชุมเพื่อขอมติเห็นชอบ การย้ายออกไปอยู่นอกเขตเทศบาล สำเร็จภายใน " หนึ่งวัน " 
 " เช้า ประชุมที่อำเภอเมืองนครพนม  บ่าย ประชุมที่ อบต.หนองญาติ  "
ถือ เป็นการทำงาน " งานใหญ่ " ของหน่วยราชการ ที่ด่วนที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย

( ส่วนหนังสือการประชุมหัวหน้าส่วนราชการจังหวัด วันที่ 30 มีค. 2542 หาไม่เจอ )


หนังสือ " บันทึกข้อความ  "  ประทับตรา ด่วนมาก ลงวันที่ 31 มีนาคม 2542
ถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม  เรื่อง  การย้ายที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนม 
ว่าได้รับความเห็นชอบจาก หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดและ อบต.หนองญาติแล้ว



 ทางจังหวัดนครพนม มีหนังสือไปยัง ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม
เพื่อขอ มติสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม  ให้ความเห็นชอบการย้ายที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนม อีกทางหนึ่ง  ลงวันที่ 2 เมษายน  2542
ทั้งที่  นายอำเภอเมืองฯ คนนั้น ได้มีหนังสือ ลงวันที่ 31 มีนาคม 2542 มาถึง
เจ้าหน้าที่อำเภอ ฯ  ให้เตรียมตัวไปชี้บริเวณที่จะก่อสร้างฯ กับผู้รับเหมา ในวันที่ 23 เมษายน 
( เสียดายที่หาหนังสือฉบับนี้ไม่เจอ )

แสดงว่า " แผนการที่จะย้ายและจะสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่นั้น  เตรียมมานานแล้ว " 
ซึ่งก็น่าจะรวมถึงแผน หลอมลวง สถาบันต่างๆที่มี เพื่อจัดตั้ง " มหาวิทยาลัยนครพนม " ด้วย 


ขยัน  จริง จิง พ่อคุณ เอ๊ย

ภาพอดีต " ที่ว่าการอำเภอเมืองฯ " ในความทรงจำ




อดีต ที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนม  ปัจจุบัน " สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม "
ที่ใช้เงินภาษีประชาชน  มาย้อม " ความเก่าทรุดโทรม "  ด้วยเงินถึง 11 ล้าน
ผลงานของคนๆเดียวกัน ที่ชื่อ " ชวลิต  วิชยสุทธิ์ "
ที่รวมหัวกันกับ สส.นครพนม คนอื่น หักดิบ มติ ครม.รัฐบาลทักษิน  
ออก พรบ.มหาวิทยาลัยนครพนม " แบบ ขออย่างหนึ่ง  แล้วออกกฏหมายอย่างหนึ่ง "
ซึ่งเรื่องของ " มหาวิทยาลัยนครพนม " นี้ แม้จะมีพรบ. และ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
เรื่องก็คงยังไม่จบ  เพราะพฤติกรรม " ลิงหลอกเจ้า " กับ มติ ครม. นี้ 
จะเสนอให้ " รัฐบาลใหม่ " รื้อมาแก้ไขให้ตรงกับการเสนอของคณะกรรมการกลั่นกรองฯอีกที


 พื้นที่หนองญาติ อยู่นอกเขตเทศบาล และห่างจากศาลากลางจังหวัดนครพนม ถึง 7 กิโลเมตร



เสาไฟที่เห็นอยู่ข้างหน้า  คือ โครงการบ้านพักข้าราชการ ข้างอำเภอเมืองฯ ที่ต้องพับไป

ที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนม หลังใหม่นี้  ชวลิต  วิชยสุทธิ์ บอกกลางห้องประชุมฯ ว่า  
 " สร้างด้วยเงินมิยาซาว่า  ที่ได้มาเร็ว  ก็ต้องรีบเอามาใช้อย่างเร่งด่วน " 
( ส่วน จะผิดจะถูก ค่อยว่ากันทีหลัง - เราช่วยต่อให้ )

พูดถึง อนาคตงานปกครองท้องที่ ของมหาดไทยนี้   เมื่อการกระจายอำนาจให้หน่วยราชการท้องถิ่น  มีความก้าวหน้ามากขึ้น แข็งแรงยิ่งขึ้น  และประชาชนมีความใว้วางใจ
บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานปกครอง " อำเภอ " นี้  ก็จะต้องถูกลดลงอย่างแน่นอน
ต่อไป การดูแลประชาชนในท้องถิ่น  ก็จะเป็นงานของ  อบจ.  เทศบาล และ อบต. ทั้งหมด
ก็ไม่มีความจำเป็นอะไร  ที่ต้องมาขยายหน่วยงาน  ที่ยังไม่รู้ แม้อนาคตของตัวเอง



ที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนม  ผลงานอัปยศอมตะนิรันดร์การของอดีตข้าราชการไทย
ที่ชื่อ " ชวลิต  วิชยสุทธิ์ " อดีต นายอำเภอ  ปัจจุบัน  ก็เป็น อดีต สส.นครพนม
นักปกครองระดับสูง ( ได้ไงวะ )  ที่สายตาแยกแยะ " หนองน้ำ " กับ " ที่ดิน "  ไม่ออก 

 ว่าแต่ว่า เขาคนนี้ เป็นใครมาจากไหน โด่งดังยังไง  แล้วดอดมาเป็น สส.แต่เมื่อไหร่  ล่ะ
ก็ต้องไปถามชาวบ้านชาวเมืองเขาดูว่า รู้จัก สส.คนนี้ใหม เป็นคนบ้านไหน แล้วมีดียังไง 
ก็แปลก ที่ไม่เห็นจะมีใคร ตอบได้ ฉาดฉาน เต็มปากเต็มคำซักคน
เออ  ไม่รู้จักหัวนอนปลายเท้าแล้ว ไปเลือกเป็น  สส. ได้ไง หนอ คนนคร เอ๊ย
แต่มีคนรู้ดีมากระซิบ  " ก็เป็นมันทั้งนายอำเภอ และ เด็กหิ้วกระเป๋าให้ นายพล ไง พอป๊ะ
การดับฝัน ของอดีตข้าราชการ นักปกครองระดับสูง ของกระทรวงมหาดไทย  ผู้นี้
ผู้คิดจะต่อยอดความฝันของตัวเอง  ให้ " หนองญาติ " มีสภาพใกล้เคียง " บึงฉวาก " 

ก็นับเป็นความโชคดี ของชาวนครพนม และ คนทั้งประเทศ ที่จะได้เห็น หนองญาติ คงอยู่ต่อไป
หาไม่แล้ว  ป่านนี้คงมีอาคารราชการนับสิบๆตั้งปิดล้อม " หนองญาติ "  เต็มไปหมด
เพียงแค่ 5 ฉากกับ 1 ตัวละครเอก  ไคลแม๊กซ์ ก็ใกล้ถึง " บ้านสีขาว " ที่หนองเซา เข้าไปทุกที
ส่วน ตัวเอกของเรื่อง  ถ้าคิด  จะหาสถานที่สำหรับ " การหัวเราะให้ฟันร่วงหมดปาก "
ก็เชิญเลือกล่วงหน้าได้เลยนะว่าที่ไหน  เพราะเวลาใกล้จะมาถึงแล้ว


"   ปิดม่าน  "


จบมหาอุปรากร " นิรมิตหนองญาติ - นิราศหนองเซา "  องค์ที่ 5


 ตอน   "  นาย - เภอ นักฝันลั้นลา  เมื่อ มิยาซาว่า กำลังจะพา ซรวย "




วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คำชี้แจงจาก " ศาลปกครอง " คดีให้เพิกถอน นสล.หนองญาติ เลขที่.นพ 0038


 หนังสือชี้แจงจาก สำนักประธานศาลปกครองสูงสุด
วันที่ 14 มีนาคม  พ.ศ 2554





หนังสือขอทราบความคืบหน้า " คดีให้เพิกถอน นสล.หนองญาติ " ที่ฟ้องมาเกือบ 5 ปีแล้ว
ถึง  ประธานศาลปกครองสูงสุด
จาก ทนายความกลุ่มพนมนครานุรักษ์
วันที่ 28  มกราคม พ.ศ 2554 


 หนังสือชี้แจงจาก  ศาลปกครองขอนแก่น  ฉบับที่ 1
วันที่ 16 กรกฎาคม  พ.ศ 2550



 หนังสือชี้แจงจาก  ศาลปกครองขอนแก่น  ฉบับที่ 2 ว่าจะพิจารณาพิพากษาปีนี้
วันที่ 12  กุมภาพันธ์  พ.ศ  2552



หนังสือชี้แจงจาก  ศาลปกครองขอนแก่น  ฉบับที่ 3  อ่านแล้ว ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ
วันที่  22  กุมภาพันธ์  พ.ศ  2553 

o o o o o o o o o o

การพิจารณาคดี " ที่มีความลึกลับซับซ้อนที่สุด  ในประเทศไทย  "

เรื่อง หนองน้ำสาธารณะสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน  
กลายมาเป็น ที่ราชพัสดุ  ได้อย่างไร

มาตรา 4 "ที่ราชพัสดุ" หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์อันเป็น ทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด เว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังต่อไปนี้
(1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือ กลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน
(2) อสังหาริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ ของพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาป
ส่วนอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลและขององค์การปกครองท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ 


 คดีนี้ซับซ้อนซ่อนเงื่อนจนน่าเห็นใจ "  ศาลปกครองขอนแก่น " เป็นที่สุด


วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

" นิรมิตรหนองญาติ - นิราศหนองเซา " มหาอุปรากรแห่งทศวรรษ องค์ที่ 4

องค์ที่ 4 " นสล. นพ 0038 หนึ่งใบสิบชีวิต  ที่กินเนส บุ๊ค ออฟเวิร์ลเร็คคอร์ด ต้องตาลุกใส่   "

 ooooooooooooooooooooooooo

" เปิดม่าน "

นสล  อ่านว่า - นอ สอ ลอ  หรือ หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง  
เป็นเอกสารหรือ หนังสือที่แสดงเขตที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

" ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน  เช่น ที่รกร้างว่างเปล่า ห้วยหนองคลองบึง ป่าช้า ทุ่งเลี้ยงสัตว์ ถือเป็น " ที่ดินของรัฐ " ที่มี กฎหมาย ระเบียบและประกาศของมหาดไทย กำหนดให้ นายอำเภอท้องที่ และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกัน มิให้เกิดการบุกรุกเข้ายึดครองโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย  ไม่เช่นนั้น " จะทำให้รัฐ เป็นผู้เสียหาย "

" เปิดเวที "

 
ความมั่วตั่วพิกลพิการ ผสานมหัศจรรย์พันลึก ที่ " นสล. นพ 0038 " สมควรจะได้รับการบันทึกจาก กินเนส บุ๊ค ออฟ เวิร์ล เร็คคอร์ด ( สาขาประเทศไทย )  ก็มีดังนี้

1.  เป็นหนองน้ำธรรมชาติที่ชาวบ้าน , ราษฏร , พลเมืองไทยใช้ประโยชน์ร่วมกันมานับร้อยปี แห่งแรกของจังหวัดนครพนม และ ประเทศไทย ( และสากลโลก ก็ว่าได้ ) ที่มีการออก" นสล. " หนังสือแสดงเขตที่ดินเป็นประเภท ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน ( ใช้ในหน่วยงานราชการ ) โดยเฉพาะ  ทั้งๆที่ ห้วยหนองคลองบึง ที่มีอยู่ทั้งหมดในจังหวัดนครพนม และประเทศไทย  จะมี " นสล. " เป็นประเภท  พลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน
2.  เป็นหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง  ฉบับแรกของประเทศไทย  ที่มีหลักฐานการได้มาของที่ดินคือ " หนองน้ำหนองญาติ "  ซึ่งทั้งแปลกและตลกโปกฮา ฮา ฮา  เพราะเป็นเอกสารจากหน่วยราชการเดียวกันแท้ๆคือ กรมชลประทาน  แต่ดันมีถึง 2 ชิ้น 2 ฉบับ มิหนำซ้ำก็ไม่ตรงตามข้อเท็จจริงและข้อกฏหมาย  คือ  ฉบับแรกจาก กองกฏหมายและที่ดิน บอกว่า  รัฐบาลสมัยนั้นอนุมัติที่สาธารณะ 100 ไร่ ให้ทำอ่างเก็บน้ำ   แต่อีกฉบับเป็น ใบใต่สวนของเจ้าหน้าที่รังวัดที่ดิน กลับบอกว่า มีเนื้อที่ 3,284 ไร่ ได้มาโดยการซื้อมาจากเจ้าของ มีสัญญาซ์้อขาย มีนส. 3 เป็นหลักฐาน  เอาเข้าไปพี่น้อง เอ้ย  ( ซึ่งต่อมาในภายหลังหน่วยงานที่ดูแลที่ดินของรัฐ  ก็ออกมายอมรับว่า หนองญาติ มีที่ดิน 2 ประเภทปะปนกัน คือ  ส่วนที่เป็นหนองน้ำ 3,284 ไร่  กับ ส่วน 100 ไร่ ที่ทำหัวงาน " อ่างเก็บน้ำ " ของชลประทานเพื่อทำระบบระบายน้ำให้กับหนองน้ำหนองญาติ )
3.  นสล นพ 0038 เป็น  หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ฉบับแรกและฉบับเดียวของประเทศไทย  ที่ลงนามโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ระดับชั้นและอำนาจหน้าที่ตามกฏหมาย ไม่ใช่ทั้ง อธิบดีกรมที่ดิน  และหรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
4.  นสล. นพ 0038  เป็นหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง  ที่มีการดำเนินงานตั้งแต่ 2516 - 2536  นานถึง 20 ปี ซึ่งถือว่านานที่สุดในประเทศไทย  ที่น่าสังเกตุอีกเรื่องก็คือ  การอาศัยหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงฉบับนี้  นำ " หนองญาติ " ไปขึ้นทะเบียนเป็น ที่ราชพัสดุ  ก็ต้องใช้เวลาถึง 10 ปี ( 2536 - 2546 ) ก็นานไม่น้อยเหมือนกัน  มันก็น่าคิดเหมือนกันว่า เป็นเพราะอะไร สดุดอะไร ทำไมถึงนานอย่างนั้น  แสดงให้เห็นว่า  อย่างน้อยๆการทำงานชิ้นนี้ ย่อมเกิดความอีหลักอีเหลื่อแกมพะอืดพะอม ผสมความอึ้งทึ่งเสียว ในหัวใจคนทำงานที่เป็นข้าราชการดีๆ บ้างล่ะนะ
5.  นสล. นพ 0038 เป็นหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง  ( เป็นเอกสารทางราชการที่มีนัยยะคล้ายกับ " โฉนดที่ดิน ของประชาชนทั่วไป " )  ฉบับที่ มีพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ต้องให้การดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกัน ใช้อ้างถึงความชอบธรรมในการเข้ามาใช้พื้นที่ใน " หนองญาติ " อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มากที่สุด เช่น นายอำเภอเมืองฯ  นายกอบจ. นายกเทศบาลเมืองฯ และนายก อบต.  แต่ที่ตลกร้ายที่สุดก็คือ  มีข้าราชการระดับสูงถึง 2 คน ที่กล้าหาญชาญชัย ยืนยันรับรองว่า นสล. นพ 0038 ฉบับนี้ มีความถูกต้องทุกประการ ในที่ประชุมจังหวัดฯต่อหน้ากรรมาธิการปกครองของรัฐสภาฯ เมื่อ พย. 2548 ที่อยากให้จดจำ ก็คือ อดีตนายอำเภอเมืองฯ คนหนึ่ง ที่วันนี้ได้ดีขึ้นไปเป็นรองผู้ว่าฯคนปัจจุบัน  และหัวหน้าชลประทานฯ ( ฐานะผู้ขอใช้งาน )
6.  ประการสุดท้าย ที่ " กินเนส "  จะต้องจับตาอย่างใจจดใจจ่อว่า " กระดาษเพียง 1 ใบ " นี้ ประเทศไทย จะเอานิติรัฐ หรือ คน  และต้องติดตามตอนต่อไปว่า กระดาษใบเดียวนี้ จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับชีวิต  เจ้าพนักงานระดับน้อยใหญ่นับสิบ อย่างไร  ไม่นับรวมความปวดหัว โกลาหลอลหม่านของหน่วยราชการสำคัญอื่นๆอีกเช่น  ปปช.  ปปท. และ โดยเฉพาะ สตง. ที่ต้องมาตรวจการใช้เงินทุกบาททุกสตางค์ ที่ใช้จ้างคนงานมาดูแลสนามหญ้า ตลอดจนบิลล์ค่าน้ำค่าไฟฯ ที่ใช้จ่ายใน " สรรพสถาน " ที่เบ่งบาน มโหฬารบนหนองน้ำหนองญาติ แห่งนี้

"  ปิดม่าน  "

จบมหาอุปรากร " นิรมิตหนองญาติ - นิราศหนองเซา "  องค์ที่ 4

ตอน  "  นสล. นพ 0038 หนึ่งใบสิบชีวิต ที่ กินเนส บุ๊ค ออฟ เวิร์ลเร็คคอร์ด ต้องตาลุกใส่ "

 



วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

" นิรมิตรหนองญาติ - นิราศหนองเซา " มหาอุปรากรแห่งทศวรรษ องค์ที่ 3

องค์ที่ 3 " ผู้ให้น้ำ จอมมายากลผู้ถลำลึก ไม่รู้ กลนึกนำ หรือ กรรมชักพา "

" ชล " แปลว่า น้ำ , " ประทาน "  แปลว่า ให้  ดังนั้นเมื่อรวมคำว่า " ชลประทาน " ก็แปลว่า ผู้ให้น้ำ  จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้

ชะตากรรมที่  1  ดลให้ กรมชลประทาน ขึ้นมาที่ นครพนม ก็เพราะหนองญาติหนองน้ำธรรมชาติ ( ขนาดพื้นที่เท่าไหร่ก็ไม่ทราบ )  เกิดเหตุน้ำท่วมบ้านเรือนราษฏร
รัฐบาลสมัยนั้น จึงอนุมัติที่สาธารณะน้ำท่วมถึงให้ 100 ไร่ ( อยู่หลังเทศบาลหนองญาติ ) เพื่อทำหัวงานอ่างเก็บน้ำ มีบ้านพักคนงาน และคลองส่งน้ำคอนกรีตยาว 2 กม.เพื่อระบายน้ำออกจากหนองญาติ

 มายากล ที่ 1  หลังการทำระบบระบายน้ำให้หนองน้ำ " หนองญาติ " เสร็จในปี 2498   ก็บันทึกว่าหนองน้ำหนองญาตินั้นเป็น " อ่างเก็บน้ำหนองญาติ " มีเนื้อที่ 4,950 ไร่  เออ เก่งนะ ที่ทำไปทำมา หนองญาติ ก็มีเนื้อที่เพิ่มขึ้นตั้งเยอะ


มายากล ที่ 2   เกิดขึ้นในปี 2516  เมื่อเจ้าหน้าที่รังวัดของกรมชลประทานออกเดินสำรวจ " อ่างเก็บน้ำหนองญาติ " เพื่อจะออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง  ได้บันทึกว่า อ่างเก็บน้ำหนองญาติ มีเนื้อที่ 3,284 ไร่ ( อ้าว แล้วเนื้อที่หายไปไหนตั้ง 1,700 ไร่ ) และระบุที่มาของหนองญาติว่า  ได้โดยการซื้อมาจากเจ้าของ มีสัญญาซื้อขาย มี นส. 3 เป็นหลักฐาน เรื่องนี้ใครจะเชื่อกรมชลประทาน ก็ตามใจนะ  กลัวแต่ว่า ศาลปกครองอาจจะเชื่อเรื่องนี้ยากซักกะหน่อย






 ชะตากรรม ที่ 2  จากการเดินสำรวจในครานั้นผ่านมาถึง 20 ปีเต็ม  ก็เกิดเรื่องที่ไม่คาดคิดขึ้นในปี 2536  เมื่อรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม อาจหาญไปเซ็นต์ชื่อในหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงของ " อ่างเก็บน้ำหนองญาติ " แทนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม  ทั้งที่อธิบดีกรมที่ดินได้มอบอำนาจ ( เฉพาะตัว ) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฯปฎิบัติราชการแทนในการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงในเขตพื้นที่จังหวัดนั้นไปแล้ว ( คำสั่งมีผลตั้งแต่ปี 2535 )



มายากล ที่  3   เกิดในปี 2540  เมื่อชลประทาน ได้ทำเรื่องโอน " อ่างเก็บน้ำหนองญาติ " ที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองญาติ เป็นผู้ดูแลแทน  ทั้งๆที่รู้ว่า " ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น จะโอนแก่กันมิได้  เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งกฏหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฏีกา "  และแถมด้วยการลบชื่อ " อ่างเก็บน้ำหนองญาติ " ออกจากสาระบบในโครงการของสำนักงานชลประทานจังหวัดนครพนม







ชะตากรรม ที่  3  ในปี 2545 กรมชลประทาน เกิดอะไรขึ้นก็ไม่ทราบกุลีกุจอรีบทำเรื่อง ส่งคืนที่ราชพัสดุ " อ่างเก็บน้ำหนองญาติ "  คืนให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม  ทั้งๆที่เพิ่งโอน " อ่างเก็บน้ำหนองญาติ " ให้ อบต.หนองญาติ ไปดูแลแทนเมื่อไม่กี่ปีมานี้  เออ จะเอายังไงดีล่ะ  แต่เรื่องที่สำคัญที่สุดมันก็ตรงที่  " อ่างเก็บน้ำหนองญาติ " นี้เพิ่งจะมาขึ้นทะเบียนเป็น " ที่ราชพัสดุ " อย่างถูกต้องสมบูรณ์ตามระเบียบกรมธนารักษ์ ก็ในปี 2546 นี้เอง

ในคำชี้แจงตอนหนึ่งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม  กรมชลประทานระบุว่า  " ปัจจุบันไม่ได้ใช้ประโยชน์ในกิจการชลประทาน  เมื่อไม่มีความจำเป็นในการใช้ประโยชน์แล้วเห็นสมควรส่งคืนให้แก่กรมธนารักษ์ "
ก็แปลกดีนะ  งั้นแสดงว่า  การโอนให้ อบต.หนองญาติ ก็ไม่ใช่เรื่องถูกต้องล่ะสิ



หลักฐานนี้แสดงว่า เรื่องของ " อ่างเก็บน้ำหนองญาติ " ส่งมาที่สำนักงานธนารักษ์พื้นที่นครพนม ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ 2546  และถูกประกาศขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ แปลงเลขที่ นพ 1347 เมื่อวันที่ 16 กรกฏาคม พ.ศ 2546



ชะตากรรม  ที่  4  ในช่วงปี 2542- 43  ทั้งที่ส่งมอบโอน " อ่างเก็บน้ำหนองญาติ " ให้ อบต.หนองญาติ ไปแล้ว  กรมชลประทาน ก็ยังมีงบจ้างผู้รับเหมา 23 ล้าน ( ที่มีคดีฟ้องศาลฯ ) ให้ทำการขุดลอกหนองญาติ  แล้วนำดินที่ได้ไปถมหนองญาติเพื่อรองรับสิ่งก่อสร้างในโครงการเมกะโปรเจคมูลค่านับพันล้าน  เช่น ที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนมแห่งใหม่ , ถนนรอบหนอง , พิพิธภัณฑ์ , หอเฉลิมพระเกียรติฯ , ศูนย์โอทอปนครพนม , ศูนย์ฝึกฝีมือ ฯ , สวนเฉลิมพระเกียรติฯ  และสนามกีฬาจังหวัดแห่งใหม่  ( เสียดายที่เอกสารเกี่ยวข้องหายไป จึงไม่มีแสดงประกอบ )


 








 






ชะตากรรม  ที่  5  นี่แหละที่เขาว่า " เหนือฟ้าชะตาลิขิต " ทั้งที่ศาลปกครองมีคำสั่งถึงกรมธนารักษ์ ห้ามมิให้อนุญาตผู้ใดเข้ามาใช้พื้นที่หนองญาติอีก  แต่กรมชลประทาน โดยเฉพาะท่านอธิบดีฯ ก็บ่ยั่น แถมยังถูกหวย " ไทยเข้มแข็ง " อีกตั้งเกือบ 30 ล้าน  เข้ามาทำโครงการขุดลอกหนองญาติ ( ครั้งที่ 2 ) และการป้องกันอุทกภัย ( ก็เป็นครั้งที่ 2 อีกนับแต่ปี 2494 )



            โครงการไทยเข้มแข็ง ที่หนองญาติ นครพนม มีการระบุชื่อเจ้าของโครงการอย่างชัดเจนว่า คือ นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน  ส่วนเรื่อง  การจะขุดลอกและการจะป้องกันอุทกภัยหนองญาตินั้น กรมชลประทานจะทำแบบไหนวิธีใด ก็ให้ทำไปเถอะในตอนนี้  แต่ที่คนอยากรู้ก็คือว่า การทำแผนที่ประเทศไทยที่กลางหนองญาตินั้น  มันเป็นฮวงจุ้ยดีของโครงการ หรือยังไง     










         เอาล่ะ ก่อนที่มหาอุปรากรองค์ที่ 3  จะจบ  ใครจะมายาดีลีลายอดยังไง  ก็ขอบอกว่า " เจ้าที่หนองญาติ "  นั้นเฮี้ยนและก็ดุมากๆ  ครับท่านผู้ชม

                จบมหาอุปรากร " เนรมิตหนองญาติ - นิราศหนองเซา "  องค์ที่ 3

            ตอน    " ผู้ให้น้ำ จอมมายากลผู้ถลำลึก  ไม่รู้ กลนึกนำ หรือ กรรมชักพา "