คดีการฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงของหนองญาติ

หนองญาติเป็น "หนองน้ำสาธารณะ " เพราะประชาชนคนไทยทั่วประเทศสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ทุกคน เป็นต้นว่า การเล่นน้ำ อาบน้ำ ว่ายน้ำ พายเรือ แข่งเรือ หาปลา พาวัวควายมากินมาเล่นน้ำ
ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า ที่ราษฎร์ หรือ ที่สาธารณะ
ภาษากฎหมาย เรียกว่า สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
มีกฎหมายให้การคุ้มครอง ห้ามการโอนแก่กัน ยกเว้นมีการถอนสภาพ โดยการออกกฎหมายในสภาฯเท่านั้น
คดีที่สาธารณะ ไม่มีอายุความ หมายความว่า ถึงจะครอบครองมานานแค่ไหน ก็เพิกถอนได้
กรมที่ดิน มีทะเบียนที่ระบุว่า หนองญาติ เป็นหนองน้ำสาธารณะประโยชน์ นี่เป็นหลักฐานข้อเท็จจริง

แต่จังหวัดนครพนมกลับไปขึ้นทะเบียน หนองญาติ เปลี่ยนจากอย่างหนึ่งไปเป็นอย่างหนึ่ง ในปีพ.ศ 2536
โดยเปลี่ยนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ที่ศาลากลางจังหวัด
และธนารักษ์พื้นที่นครพนม ได้นำหนองน้ำ"หนองญาติ" แห่งนี้ไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ ในปี พ.ศ 2546
ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า ที่หลวง
ภาษากฎหมาย เรียกว่า ที่ราชพัสดุ
นี่คงเป็น ที่ราชพัสดุ ที่แปลกมหัศจรรย์ที่สุดในประเทศไทย ที่เป็นเพียงหนองน้ำสาธารณะธรรมดาๆๆ
เพราะมีกฎหมายห้าม เอาที่สาธารณะ มาเป็น ที่ราชพัสดุ ตามพรบ.ที่ราชพัสดุ มาตรา 4
แต่ที่น่าพิศวง งงงวยที่สุดก็คือ เป็น " ที่ราชพัสดุ " แปลงที่มีการดำเนินงานนานที่สุด ตั้งแต่ พ.ศ 2516 - 2546 สิริรวม 30 ปึเต็ม เฮ้อ !

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คู่เวรคู่กรรม ของหนองญาติ

สำนักงานชลประทานจังหวัดนครพนม สังกัดกรมชลประทาน กับหนองน้ำธรรมชาติ "หนองญาติ "  
ผู้ย่างก้าวเข้ามาที่บ้านหนองญาติ
ในปี พ.ศ 2494 ภายหลังจาก "หนองญาติ " ได้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ 2468 แล้วถึง 28 ปี
ในครั้งนั้น กรมชลประทานได้กรรมสิทธิ์การทำอ่างเก็บน้ำในที่ดินซึ่งเป็นที่สาธารณะถูกเขตน้ำท่วมประมาณ 100 ไร่ ( บริเวณคลองส่งน้ำ ด้านหลังอบต.หนองญาติ มิใช่ที่หนองญาติ )
แต่เหตุไฉน เวลาออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง จึงไปรวมเอาพื้นที่หนองญาติรวมเข้าไปด้วยหละ



ตามประวัติ ก็ไม่ค่อยดูแลเอาใจใส่หนองญาติ สักเท่าไร ปล่อยให้ตื้นเขิน รกร้าง เหมือนกับว่าหนองญาติไม่ใช่อ่างเก็บน้ำที่ตัวเองมีหน้าที่ดูแล  
เอ๊ะ รึว่า ที่จริงแล้ว หนองญาติไม่เคยเป็นอ่างเก็บน้ำมาก่อน 
นอกจากจะมีป้ายไม้เก่าๆที่สามแยก เขียนว่า " อ่างเก็บน้ำหนองญาติ " เท่านั้น
เมื่อปี พ.ศ 2540 ได้โอนหนองญาติให้อบต.หนองญาติ ดูแลแทน พร้อมกับการลบชื่อ หนองญาติ ออกจากสารบบของโครงการที่ตัวเองรับผิดชอบ
แต่หลังจากนั้นไม่นาน ก็แอบไปหารับประทาน เอ๊ย รับจ๊อบขุดลอกหนองญาติ(ที่เคยมีเรื่องราวฟ้องร้องกัน)
แต่ก็ไม่ใช่เหตุผลเพื่อการบำรุงหนองน้ำหรือปรับปรุงนิเวศน์ของสัตว์น้ำในหนองหรอกนะ
แต่เป็นการขุดเอาดินในหนองกลับมาถมหนองอีกครั้งหนึ่งเพื่อทำเป็นที่ก่อสร้างถนน
ที่ว่าการอำเภอเมืองแห่งใหม่ สนามกีฬา ที่ตรงกลางหนองน้ำเลยเชียว 
ไม่เชื่อก็ลองเทียบที่ตั้งวันนี้ดูกับภาพถ่ายทางอากาศเก่าๆดูสิ
เขาว่า พวกที่ทำงานกับน้ำ มักเลือดเย็นและใจเย็น
ทั้งที่คดีหนองญาติยังอยู่ในการพิจารณาของศาลปกครอง ขอนแก่น
ที่ศาลได้ให้การคุ้มครองชั่วคราว    สั่งห้ามธนารักษ์(ฐานะผู้ดูแล)อนุญาตให้ผู้ใดเข้ามาใช้พื้นที่เพื่อทำการใดๆบนหนองน้ำ"หนองญาติ"
แต่คนกรมชลประทานจะขออนุญาตธนารักษ์ก่อนหรือไม่
แต่ก็เห็นได้ว่า พวกเขาก็ไม่สนกับคำว่า "การละเมิดศาล "
  งานล่าสุดก็อาศัยโครงการไทยเข้มแข็งบังหน้า
เข้ามาทำโครงการขุดลอกหนอง ( อีกแล้ว ) แทนที่จะเป็นโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำ
ด้วยวงเงินสูงถึง 29 ล้านกว่าบาท เอ้า เอาเข้าไป
โครงการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย/ขุดลอกอ่างเก็บน้ำหนองญาติ
ผู้รับเหมา หจก.นพรัตน์ก่อสร้าง (งานถมถนนลำเลียงเข้าหัวงาน)
ผู้รับผิดชอบ นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน
811 ถนนสามเสน แขวงนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
ที่ให้ชื่อเจ้าของโครงการและที่อยู่เบ็ดเสร็จ  ก็เผื่อ มีใครเข้มแข็งเกิดขึ้น จะได้ตามถูกคน ไง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น