คดีการฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงของหนองญาติ

หนองญาติเป็น "หนองน้ำสาธารณะ " เพราะประชาชนคนไทยทั่วประเทศสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ทุกคน เป็นต้นว่า การเล่นน้ำ อาบน้ำ ว่ายน้ำ พายเรือ แข่งเรือ หาปลา พาวัวควายมากินมาเล่นน้ำ
ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า ที่ราษฎร์ หรือ ที่สาธารณะ
ภาษากฎหมาย เรียกว่า สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
มีกฎหมายให้การคุ้มครอง ห้ามการโอนแก่กัน ยกเว้นมีการถอนสภาพ โดยการออกกฎหมายในสภาฯเท่านั้น
คดีที่สาธารณะ ไม่มีอายุความ หมายความว่า ถึงจะครอบครองมานานแค่ไหน ก็เพิกถอนได้
กรมที่ดิน มีทะเบียนที่ระบุว่า หนองญาติ เป็นหนองน้ำสาธารณะประโยชน์ นี่เป็นหลักฐานข้อเท็จจริง

แต่จังหวัดนครพนมกลับไปขึ้นทะเบียน หนองญาติ เปลี่ยนจากอย่างหนึ่งไปเป็นอย่างหนึ่ง ในปีพ.ศ 2536
โดยเปลี่ยนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ที่ศาลากลางจังหวัด
และธนารักษ์พื้นที่นครพนม ได้นำหนองน้ำ"หนองญาติ" แห่งนี้ไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ ในปี พ.ศ 2546
ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า ที่หลวง
ภาษากฎหมาย เรียกว่า ที่ราชพัสดุ
นี่คงเป็น ที่ราชพัสดุ ที่แปลกมหัศจรรย์ที่สุดในประเทศไทย ที่เป็นเพียงหนองน้ำสาธารณะธรรมดาๆๆ
เพราะมีกฎหมายห้าม เอาที่สาธารณะ มาเป็น ที่ราชพัสดุ ตามพรบ.ที่ราชพัสดุ มาตรา 4
แต่ที่น่าพิศวง งงงวยที่สุดก็คือ เป็น " ที่ราชพัสดุ " แปลงที่มีการดำเนินงานนานที่สุด ตั้งแต่ พ.ศ 2516 - 2546 สิริรวม 30 ปึเต็ม เฮ้อ !

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ภาพสวยที่หนองญาติ ต้นฉบับของ มหากาพย์แห่งการประพฤติมิชอบ จังหวัดนครพนม


หนองญาติเป็นหนองน้ำที่เกิดตามธรรมชาติ  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ระบุเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน


ผู้มีหน้าที่ดูแลให้การคุ้มครองป้องกันการบุกรุก คือ นายอำเภอในท้องที่

ในอดีต หนองญาติสวยงามกว้างใหญ่มีอาณาบริเวณตามการบันทึกของกรมชลประทาน ในปี 2498 ประมาณ 4,950 ไร่

ถนนสร้างจากการขุดลอกดินในหนองน้ำกลับมาถม ในปี 2542








l


เบื้องหน้าคือ ที่ทำการอำเภอเมืองนครพนม ผู้บุกรุกที่สาธารณะ ในปี 2542

นี่หรือ อ่างเก็บน้ำหนองญาติ  ตามคำอ้างของกรมชลประทาน

มีเนื้อที่ตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง นพ 0038 ในปี พ.ศ 2536 ถึง 3,284 ไร่
นี่คือ วิถีดั้งเดิมของชาวบ้านในการเข้าใช้ประโยชน์ในหนองน้ำ " หนองญาติ "







สภาพความติ้นเขิน รกร้าง ต้องถามหาว่า หน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ หนองน้ำแห่งนี้

ถนนเส้นนี้สร้างโดยหน่วยงานทหาร  เออ แล้ว ทหารมาเกี่ยวข้องในงานบุกรุกหนองสาธารณะได้อย่างไร

นี่มันหนองน้ำ หรือ ศูนย์ราชการกันแน่







อนิจจา หนองญาติ ที่เหลือเนื้อที่ในวันนี้เพียง 2,500 ไร่

จากการสำรวจของหน่วยงานกรมธนารักษ์ พบมีประชาชนบุกรุกรายรอบหนองญาติ ถึง 100 กว่าราย







ควรจะเป็นประโยชน์สำหรับประชาชน หรือ หน่วยราชการ ?












เหมือนเป็นลางว่า ต้องอยู่ภายในรั้วต่อไป







โรงน้ำแข็งเก่า สมัยสงครามเวียตนาม ที่รกร้างมากว่า 30 ปีแล้ว ต่อไปก็คงไม่เหงา เพราะจะมีเพือนบ้าน 2-3 รายมาอยู่ด้วย

นี่ก็สร้างในระหว่างที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดให้มีคำสั่งระงับการก่อสร้าง

เมื่อไม่มีผู้ใดปฎิบัติตามหน่วยงานในส่วนกลาง ใครจะรับผิดขอบในความเสียหายของการใช้งบประมาณแผ่นดิน

สร้างแล้ว ใครได้ประโยชน์

ตามแผนการเดิม  จะมีงานก่อสร้างสถานที่ราชการอีกหลายแห่งล้อมรอบชายขอบของหนองน้ำ " หนองญาติ "

โชคดีมีผีึุคุ้ม จึงทำได้แค่ที่เห็น  แต่สภาพตามธรรมชาติ ของหนองน้ำก็เปลี่ยนไป

การทำงานนอกเขตของเทศบาลเมืองนครพนมที่รนหาที่   ใครเตือน ใครห้าม ก็ไม่ฟัง  





เคยมีป้าย " พิพิทธภัณฑ์สัตว์น้ำจืด " โดยเทศบาลเมืองนครพนม แล้วไง ในตอนนี้ ป้ายเปลี่ยนใหม่ แถมยังไม่บอกว่าใครทำ

การดำเนินงานบนพื้นที่พิพาท  การจะนำเอางบประมาณมาใช้ ก็จะเป็นปัญหา







นอกจากสถานที่จะเปลี่ยนชื่อ คนแถวนี้ก็นิยมเปลี่ยนชื่อด้วย





มาใหม่ โครงการหากินกับ " หนองญาติ " ของหน่วยงานชลประทาน ที่อดีตก็ไม่เคยดูแล แต่อ้างชื่อหนองญาติหางบมาทำการขุดลอกหนองมาตลอดปีตลอดชาติ

ป้ายไม้เก่าที่เขียนว่า " อ่างเก็บน้ำหนองญาติ "  แล้วทำไมชลประทาน
ถึงยอมให้นายอำเภอเมืองฯเข้ามาสร้างที่ว่าการอำเภอฯ แทนเสียหละ



หลักฐานเก่า ที่กรมชลประทานเคยจัดระบบการระบายน้ำให้หนองญาติ ในปี 2496  
ป้องกันน้ำล้นเอ่อท่วมบ้านเรือนชาวบ้าน  แล้วก็บอกว่า นี่คือ อ่างเก็บน้ำ



" โครงการไทยเข้มแข็ง นครพนม " งานขุดลอกหนองญาติ ( อีกแล้ว )มูลค่า 30 ล้านบาทแต่ได้งบแล้ว 29 ล้าน 

การทำลายสภาพธรรมชาติของหนองญาติ อีกครั้งหนึ่งที่ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่า การสร้างที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนม ในปี 2542





" ไทยเข้มแข็ง " หรือ " ใครเข้มแข็ง "







ต้นตอ เหตุวิบัติของหนองน้ำ " หนองญาติ "



เดิมพันครั้งใหญ่ ระหว่าง สถานที่ราชการแห่งนี้ กับ " นิติรัฐ " ที่มีประมวลกฎหมาย 3 ฉบับ  ใครจะอยู่ใครจะไป ??????

ความวิบัติของหนองญาติ จะเห็นนาข้าวอยู่ข้างถนน ที่อดีต นี่คือ พื้นที่กลางหนองน้ำ

ที่เห็นเบื้องหน้า คือ ศูนย์กีฬาฯ นครพนม ที่สร้างจากการขุดลอกหนอง  แล้วนำดินกลับมาถม



กรมโยธาฯ ก็เอากะเขาด้วย ในการทำลายหนองญาติ

สองฟากถนน ซึ่งเดิมก็เป็นหนองน้ำ  แต่ด้วยสภาพความตื้นเขินตามธรรมชาติและฝีมือมนุษย์  
จึงกลายมาเป็นนาปลูกข้าวโดยตั้งใจ ในทุกวันนี้



ศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทย นครพนม ที่สร้างจากการขุดลอกดินในหนองครั้งแรกปี 2542 ของกรมชลประทาน ทีให้ความร่วมมือในการทำลายหนองญาติด้วย

1 ความคิดเห็น: