คดีการฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงของหนองญาติ

หนองญาติเป็น "หนองน้ำสาธารณะ " เพราะประชาชนคนไทยทั่วประเทศสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ทุกคน เป็นต้นว่า การเล่นน้ำ อาบน้ำ ว่ายน้ำ พายเรือ แข่งเรือ หาปลา พาวัวควายมากินมาเล่นน้ำ
ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า ที่ราษฎร์ หรือ ที่สาธารณะ
ภาษากฎหมาย เรียกว่า สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
มีกฎหมายให้การคุ้มครอง ห้ามการโอนแก่กัน ยกเว้นมีการถอนสภาพ โดยการออกกฎหมายในสภาฯเท่านั้น
คดีที่สาธารณะ ไม่มีอายุความ หมายความว่า ถึงจะครอบครองมานานแค่ไหน ก็เพิกถอนได้
กรมที่ดิน มีทะเบียนที่ระบุว่า หนองญาติ เป็นหนองน้ำสาธารณะประโยชน์ นี่เป็นหลักฐานข้อเท็จจริง

แต่จังหวัดนครพนมกลับไปขึ้นทะเบียน หนองญาติ เปลี่ยนจากอย่างหนึ่งไปเป็นอย่างหนึ่ง ในปีพ.ศ 2536
โดยเปลี่ยนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ที่ศาลากลางจังหวัด
และธนารักษ์พื้นที่นครพนม ได้นำหนองน้ำ"หนองญาติ" แห่งนี้ไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ ในปี พ.ศ 2546
ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า ที่หลวง
ภาษากฎหมาย เรียกว่า ที่ราชพัสดุ
นี่คงเป็น ที่ราชพัสดุ ที่แปลกมหัศจรรย์ที่สุดในประเทศไทย ที่เป็นเพียงหนองน้ำสาธารณะธรรมดาๆๆ
เพราะมีกฎหมายห้าม เอาที่สาธารณะ มาเป็น ที่ราชพัสดุ ตามพรบ.ที่ราชพัสดุ มาตรา 4
แต่ที่น่าพิศวง งงงวยที่สุดก็คือ เป็น " ที่ราชพัสดุ " แปลงที่มีการดำเนินงานนานที่สุด ตั้งแต่ พ.ศ 2516 - 2546 สิริรวม 30 ปึเต็ม เฮ้อ !

วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

" นิรมิตหนองญาติ - นิราศหนองเซา " มหาอุปรากรแห่งทศวรรษ


องค์ที่ 1  ลิงติดแห  ยิ่งแก้ ก็ยิ่งแน่น

โครงการผังแม่บทการพัฒนาบริเวณอ่างเก็บน้ำหนองญาติ
ครั้งที่ 1 วันพุธที่ 19 มกราคม 2548 เวลา 14.00 น.
ณ ห้องประชุมสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครพนม
หรือ
แผนฆาตกรรม " อ่างเก็บน้ำหนองญาติ "

รายนามคณะทำงานวางผังกำหนดพื้นที่การใช้ประโยชน์บริเวณที่ราชพัสดุ
แปลงหมายเลขทะเบียนที่ นพ 1347 อ่างเก็บน้ำหนองญาติ ตำบลหนองญาติ
อำเภอเมือง  จังหวัดนครพนม
หมายเลขที่ 1 - โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครพนม  หัวหน้าคณะทำงาน
( หน่วยงานนี้ได้ให้การที่เป็นประโยชน์ว่า  การทำผังบริเวณอ่างเก็บน้ำหนองญาติ
สืบเนื่องจาก  ได้รับหนังสือจากนักการเมืองคนหนึ่งขอความอนุเคราะห์ให้ช่วย
จัดทำให้  แต่เมื่อขอดูหนังสือฉบับนั้น  ก็ได้รับคำตอบว่า แฟ้มเอกสารหาย )

หมายเลขที่ 2 หัวหน้าโครงการชลประทานนครพนม   คณะทำงาน
( หน่วยงานนี้ได้ให้การที่เป็นประโยชน์ว่า  กรมชลประทานได้กรรมสิทธิ์ที่ดิน
โดยได้รับอนุมัติจากรัฐบาลในสมัยนั้น พ.ศ 2494 ให้สร้างอ่างเก็บน้ำในที่ดินซึ่ง
เป็นที่สาธารณะถูกเขตน้ำท่วมถึงประมาณ 100 ไร่ จึงไม่มีหลักฐานการได้มาของที่ดิน
พื้นที่ส่วนนี้ได้ก่อสร้างหัวงานชลประทาน เช่น ทำนบดิน , อาคารระบายน้ำ , ฝาย
คอนกรีตล้วน , คลองส่งน้ำคอนกรีต , อาคารโรงสูบน้ำ , บ้านพักคนงาน และพื้นที่
อ่างเก็บน้ำ
แต่ในพ.ศ 2515 ได้เดินสำรวจหนองญาติเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง
สำเร็จในปี 2516 การรังวัดตามใบใต่สวน ระบุว่าหนองญาติมีเนื้อที่ 3,284 ไร่ และระบุ
ว่า  ได้มาโดยการซื้อมาจากเจ้าของที่ดินตามสัญญาซื้อขาย มีหลักฐานเป็น น.ส 3 และ
ไม่มีผู้ใดคัดค้าน  แต่ความจริงมีผู้คัดค้าน จึงทำให้ออกหนังสือสำคัญฯไม่ได้
ในปี 2536 ได้ออกหนังสือสำคัญฯสำเร็จ ได้เลขที่ นพ 0038 เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม
โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ลงนาม
ในปี 2540 ได้โอนอ่างเก็บน้ำหนองญาติให้ อบต.หนองญาติเป็นผู้ดูแลและบำรุงรักษา
ในปี 2545 ได้ทำเรื่องส่งคืนที่ราชพัสดุถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม พร้อมกับการ
นำอ่างเก็บน้ำหนองญาติส่งขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ สำเร็จในวันที่ 16 มกราคม 2546
เป็นแปลงหมายเลขทะเบียนที่ นพ 1347 ชื่อผู้ใช้ประโยชน์ ก็ยังคงเป็นกรมชลประทาน
ไม่ใช่ อบต.หนองญาติ ดังที่กล่าวอ้างว่า  ได้โอนให้เป็นผู้ดูแลรักษาแทนไปแล้ว
ก็น่าสงสัยว่า  หนองญาติเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แล้วโอนได้อย่างไร
ในปี 2552 อธิบดีกรมชลประทาน ทำโครงการขุดลอกหนองญาติเป็นครั้งที่ 2 และ
ทำโครงการป้องกันอุทกภัยให้หนองญาติ ด้วยงบประมาณ 30 ล้านบาท บนพื้นที่
การดูแลและบำรุงรักษาของเทศบาลตำบลหนองญาติ
งานหมูๆเช่น ขุดๆๆ ถมๆๆ แบบนี้  ช่างกิ๊กก๊อกที่ไหนก็ทำได้ไม่จำเป็นต้องใช้
สติปัญญาแบบผู้เชี่ยวชาญการทำอ่างเก็บน้ำฯ จากหน่วยงานกรมชลประทาน เลย
หากมั่นใจว่า  หน่วยงานชลประทานเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในเรื่อง อ่างเก็บน้ำจริง ละก็
ขอถามหน่อยว่า  การดูแลรักษาอ่างเก็บน้ำหนองญาติ นับแต่ปี 2496 ถึงปัจจุบัน
ดูแลกันยังไง  ใช้งบฯไปเท่าไหร่ ทำไมอ่างฯจึงตื้นเขินรกเรื้อ เกิดมีสันดอนกลางน้ำ 
จากที่เคยมีเนื้อที่ 4,950 ไร่ จนมาเหลือเพียง 2,000 ไร่ ในวันนี้
เห็นทีจะต้องให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ลงมาดูบัญชีชลประทานนครพนม
ซักกะหน่อยว่า  ตลอดเวลา 50 กว่าปีนี่  ได้เบิกเงินไปทำนุบำรุงอ่างฯ กี่บาท ??
ที่สำคัญ คือ การโอนหนองญาติ ให้อบต.หนองญาติ ไปดูแลแทนนั้น ไปถึงไหนแล้ว ?

หมายเลขที่ 3 ธนารักษ์พื้นที่นครพนม   คณะทำงาน
( หน่วยงานนี้ได้ให้การที่เป็นประโยชน์ว่า  ได้มาโดยการซื้อจากเจ้าของที่ดิน
มีสัญญาซื้อขาย และมีหลักฐานเป็น น.ส 3 จึงเป็นที่ราชพัสดุ ตามมาตรา 5 ตาม
พรบ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ 2518 )

หมายเลขที่ 4 เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครพนม  คณะทำงาน
( หน่วยงานนี้ได้ให้การที่เป็นประโยชน์ว่า  กรมชลประทานได้กรรมสิทธิ์ที่ดิน
ที่รัฐบาลสมัยนั้น 2494  อนุมัติให้  100 ไร่ )

หมายเลขที่ 5 ผู้อำนวยการกองช่างเทศบาลเมืองนครพนม คณะทำงาน/เลขาฯ

หมายเลขที่ 6 ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายปกครองฯ  คณะทำงาน / ผช.เลขาฯ

หมายเลขที่ 7 นายช่างสำรวจ 7 ธนารักษ์นครพนม คณะทำงาน / ผช.เลขาฯ





ธนารักษ์พื้นที่นครพนม ชื่อ นางสาวจุฑามาศ จันทสร ยืนยันในที่ประชุมว่า
หนองญาติเป็นที่ราชพัสดุมิใช่ที่สาธารณะประโยชน์ 
โปรดสังเกตุว่า  หนองญาติมีเนื้อที่ 2,769.596 ไร่
น้อยกว่าที่ระบุในหนังสือสำคัญฯที่เธอกอดไว้แน่นยิ่งชีวิต ถึง 510 ไร่



นางสาวจุฑามาศ จันทสร  ยังยืนยันอีกว่า  การขออนุญาตใช้พื้นที่
จะต้องได้รับหนังสือยินยอมจากชลประทานก่อน เพราะเป็นผู้ขอใช้พื้นที่ทั้งหมด
แสดงว่า การโอนหนองญาติไปให้ อบต.หนองญาติดูแลแทน เป็นเรื่องโกหก
เพราะสาธารณสมบัติของแผ่นดิน  มันโอนแก่กันไม่ได้





จบมหาอุปรากร " นิรมิตหนองญาติ  นิราศหนองเซา "  องค์ที่ 1

ตอน  " ลิงติดแห  ยิ่งแก้  ก็ยิ่งแน่น "

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น