คดีการฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงของหนองญาติ

หนองญาติเป็น "หนองน้ำสาธารณะ " เพราะประชาชนคนไทยทั่วประเทศสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ทุกคน เป็นต้นว่า การเล่นน้ำ อาบน้ำ ว่ายน้ำ พายเรือ แข่งเรือ หาปลา พาวัวควายมากินมาเล่นน้ำ
ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า ที่ราษฎร์ หรือ ที่สาธารณะ
ภาษากฎหมาย เรียกว่า สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
มีกฎหมายให้การคุ้มครอง ห้ามการโอนแก่กัน ยกเว้นมีการถอนสภาพ โดยการออกกฎหมายในสภาฯเท่านั้น
คดีที่สาธารณะ ไม่มีอายุความ หมายความว่า ถึงจะครอบครองมานานแค่ไหน ก็เพิกถอนได้
กรมที่ดิน มีทะเบียนที่ระบุว่า หนองญาติ เป็นหนองน้ำสาธารณะประโยชน์ นี่เป็นหลักฐานข้อเท็จจริง

แต่จังหวัดนครพนมกลับไปขึ้นทะเบียน หนองญาติ เปลี่ยนจากอย่างหนึ่งไปเป็นอย่างหนึ่ง ในปีพ.ศ 2536
โดยเปลี่ยนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ที่ศาลากลางจังหวัด
และธนารักษ์พื้นที่นครพนม ได้นำหนองน้ำ"หนองญาติ" แห่งนี้ไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ ในปี พ.ศ 2546
ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า ที่หลวง
ภาษากฎหมาย เรียกว่า ที่ราชพัสดุ
นี่คงเป็น ที่ราชพัสดุ ที่แปลกมหัศจรรย์ที่สุดในประเทศไทย ที่เป็นเพียงหนองน้ำสาธารณะธรรมดาๆๆ
เพราะมีกฎหมายห้าม เอาที่สาธารณะ มาเป็น ที่ราชพัสดุ ตามพรบ.ที่ราชพัสดุ มาตรา 4
แต่ที่น่าพิศวง งงงวยที่สุดก็คือ เป็น " ที่ราชพัสดุ " แปลงที่มีการดำเนินงานนานที่สุด ตั้งแต่ พ.ศ 2516 - 2546 สิริรวม 30 ปึเต็ม เฮ้อ !

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

หนังสือให้ระงับการก่อสร้างบนหนองญาติ เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2548




  วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ 2548 คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ 
ส่งหนังสือมาถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม มีใจความที่สำคัญตอนหนึ่งว่า 
 " ให้พิจารณาดำเนินการหาข้อยุติว่า   หนองญาติเป็นหนองน้ำประเภทใด "
และในระหว่างการพิจารณาขอให้ยุติการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างใดๆไว้ก่อน 
จนกว่าจะหาข้อยุติได้ และถ้าปรากฎว่า เป็นหนองน้ำสาธารณประโยชน์ที่พลเมืองใช้ร่วมกัน และทางราชการประสงค์จะเข้าไปใช้ประโยชน์ ก็ให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบกฎหมายต่อไป
   เอ วัง ก็มีด้วย ประการ ฉะนี้                                                                                   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น